วันเสาร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2553

กลยุทธ์การขายตรง

กลยุทธการขายตรง

ยุคนี้ปฎิเสธไม่ได้ว่าสื่อโฆษณา เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อความอยู่รอดของธุรกิจ โดยเฉพาะสื่อ ตลาดแบบตรง หรือ Direct Marketing ถือเป็นกลยุทธ์หนึ่งในการเข้าหาลูกค้าได้มาก ใช้เงินลงทุนน้อย เจ้าของธุรกิจสามารถกำหนดขนาด การบริหารงาน , กลยุทธ์การขาย ได้ด้วยตนเอง เมื่อเทียบกับการใช้สื่อตลาดช่องทางอื่น ๆ อาทิ ช่องทางค้าปลีก , ภาพยนตร์โฆษณา นับวันจะเข้าถึงผู้บริโภคได้ยาก ประกอบคู่แข่งทางด้านผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าในหมวดผงซักฟอก , ยาสีฟัน ก็มีหลากหลายยี่ห้อออกมาวางจำหน่ายอยู่ตามช่องทางค้าปลีก ส่งผลให้ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้นไม่ได้เกิดความจงรักภักดี ต่อแบรนด์นั้น ๆ อย่างเจาะจง
ดังนั้นสิ่งที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการนำสินค้าเข้าถึงมือผู้บริโภคในยุคนี้จำเป็นต้องใช้ กลยุทธ์ ตลาดแบบตรง ( Direct Marketing ) ซึ่งกำลังเป็นกระแส ฮอตฮิตในต่างประเทศและเชื่อว่าแนวโน้มของกลยุทธ์นี้จะไหลเข้าสู่ประเทศไทยในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าจึงมีคำถามว่าวันนี้ผู้ประกอบการแต่ละบริษัทขายตรงมีความพร้อมที่จะเปิดใจ ยอมรับเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไร เพราะสิ่งเหล่านี้ถือเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่ผู้ประกอบการ และ ตัวแทนจำหน่าย สามารถนำไปปรับใช้เพื่อให้เข้าถึงใจผู้บริโภคได้เหมือนกัน
นิวมีเดียเครื่องมือใหม่ของ ตลาดแบบตรง

ด้วยความเปลี่ยนแปลงของ เทคโนโลยี และ ไอที จึงทำให้ความสามารถในการสื่อสารเข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้นกว่าอดีต เช่นเดียวกับ การใช้กลยุทธ์ตลาดแบบตรงซึ่งเป็นเครื่องมือในการเข้าหาผู้บริโภคแบบ One By One ดังนั้นผู้ประกอบการจำเป็นต้องเข้าใจผู้บริโภคที่ไม่ใช่มุ่งเน้นแค่เฉพาะต้องการจะขายสินค้าอย่างเดียวแต่เป็นการสร้างความสัมพันธ์ และ การเข้าหาลูกค้าใหม่ ๆ เพื่อจะได้ขายสินค้ามากขึ้น และ การทำให้ลูกค้าซื้อผลิตภัณฑ์ของบริษัทนั้น ๆ ไปนาน ๆ โดยไม่เปลี่ยนไปใช้ยี่ห้ออื่น เพราะปัจจุบันช่องทางในการทำตลาดแบบตรงมีเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็น Direct Mail , Online Internet , Moblie ซึ่งถือว่าเป็นสื่อแบบใหม่ ( New Media ) ที่กำลังมาแรงจนแทบจะกลืนกินสื่อจำพวก สิ่งพิมพ์ , โปรชัวร์ แคตตาล็อกสินค้า

ดังนั้นเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการต้องคิดหนักขึ้นว่าเมื่อมีการส่งข้อความที่ต้องการจะขายสินค้าให้กับผู้บริโภคผ่านสื่อแบบใหม่แล้วผู้รับจะไม่ลบ ( Delete ) ทิ้งไปเสียก่อน ผู้บริโภคเห็นแล้วตอบกลับมา จึงเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการต้องสรรหากลวิธีอะไรก็ได้ที่น่าสนใจในการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคซึ่งไม่ใช่เรื่องของการให้ส่วนลด สินค้า เพราะสิ่งเหล่านี้มีแต่ทำให้แบรนด์ของสินค้าเสียหาย ระยะยาวผู้บริโภคก็จะรอแต่ขอส่วนลด อย่างเดียว อย่างไรก็ดี สิ่งที่เหมาะสมอย่างยิ่งต่อการตอบสนองความต้องการ ของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันคือ การจัดกิจกรรมพิเศษบางอย่างที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าฉันเป็นคนสำคัญ หรือ การมอบของพรีเมี่ยมที่ลูกค้าหาซื้อที่ไหนไม่ได้ เรื่องนี้ต้องขึ้นอยู่กับ นักการตลาดว่าจะมีวิธีในการค้นหาแคมเปญ หรือ ของพรีเมี่ยม อย่างไร


ปัจจุบันสื่อไอทีรูปแบบดิจิตตอลมาแรงมาก ๆ และ แนวโน้มของสื่อประเภทนี้กำลังเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้นทุกวัน คนไทยใช้ Intetnet ถึง 13 ล้านคน จนวันนี้ทุกบริษัทนักการตลาด รวมถึงเอเจนซี่ เริ่มนำสื่อประเภทนี้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการทำตลาด และ ถ้าบริษัทใดไม่ปรับตัวตามยุคไอทีดิจิตตอล รับรอง จะกลายเป็นไดโนเสาร์ หรือ เต่าล้านปี แน่นอน แม้แต่ธุรกิจขายตรงก็หลีกหนีไม่พ้นที่จะต้องเจอกระแสไอทีดิจิตตอล เห็นได้ว่าบริษัทขายตรงหลายแห่งเริ่มมีการให้ลูกค้าสั่งซื้อสินค้าทางอินเตอร์เน็ต มีการจัดประชุมผ่านระบบ ON line , สามารถดาวน์โหลด MP3 เกี่ยวกับแผนการจ่ายผลตอบแทน , รายละเอียดของสินค้า ไปนั่งฟังบนรถประจำทางได้ สิ่งเหล่านี้กำลังเป็น ตัวบ่งบอกถึงความเปลี่ยนแปลงที่เริ่มมีให้เห็นมากขึ้น

ลูกค้าเป็นผู้กำหนดทิศทางสื่อ

ทั้งนี้ มีข้อมูลหนึ่งที่น่าสนใจจากตลาดต่างประเทศที่ได้ออกมาตีพิมพ์ว่า ในอีก 20 ปี ข้างหน้า โลกของ Media จะกลายเป็นสื่อดิจิตตอลไม่ต่ำกว่า 80 % ผู้บริโภคสามารถรับรู้ข้อมูลได้ทุกที่ไม่จำกัดอยู่เฉพาะแค่ในบ้าน เห็นได้ว่าปัจจุบันโทรศัพท์มือถือสามารถเปิดดูทีวี ,เล่นอินเตอร์เน็ต และ เกมส์ ได้ โดยเมื่อปี 2548 คนไทย จำนวนไม่ต่ำกว่า 5 ล้านคน ติดการเล่นเกมส์ ด้วยความที่คนไทยติดการเล่นเกมส์จึงเป็นเหตุให้เห็นผู้ประกอบการบางคนได้นำสินค้าเข้าไปโฆษณาในเกมส์การแข่งขันต่าง ๆ เช่น เกมส์แข่งขันฟุตบอล ก็จะบิลบอร์ดป้ายโฆษณารองเท้าไนกี้ , อาดิดาส เข้าไปโฆษณาอยู่ในเกมส์นั้น เห็นได้ว่าหันไปทางไหนก็จะมีแต่โฆษณา และ โฆษณาเต็มไปหมด จึงเป็นเรื่องที่ ผู้ประกอบการที่คว่ำหวอดอยู่วง การตลาดแบบตรง และ ตลาดขายตรง ต้องปรับตัวและวิ่งตามให้ทันต่อกระแสของโลกที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการรับรู้ข้อมูลของผู้บริโภค ผ่านสื่อแบบใหม่ ( New Media ) ที่นับวันจะมีอิทธิพลต่อการเข้าถึงความต้องการ และ ไลฟ์สไตล์ ของผู้บริโภคมากขึ้น เพราะตลาดต่างประเทศปัจจุบันมีการติดตั้งระบบ Lock ที่ลูกค้าสามารถเลือกจะดูข้อมูลโฆษณาสินค้าอะไรก็ได้ที่ตนเองสนใจ และ Delete สินค้าที่ไม่ได้ตอบโจทย์ของต้องการของตนเองทิ้ง จึงเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการ และ นักการตลาด ต้องทำการบ้านหนักขึ้นว่า จะสรรค์สร้างข้อมูล และ โฆษณา อย่างไรที่สามารถเข้าไปครองใจผู้บริโภคได้โดยไม่ถูกปฏิเสธกระทั่งการเอาโฉมหน้าของตัวเองไปสร้างคาเร็กเตอร์ ตามจินตนาการที่อยากจะเป็นให้ออกมาในรูปแบบของตัวการ์ตูน เพื่อเข้าไป Chat กับเพื่อน ๆ ในอินเตอร์เน็ต

รวมทั้งการเข้าแสดงความคิดเห็น, แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันมากขึ้นในอินเตอร์เน็ต เช่น สินค้าของบริษัทขายตรงที่นี้ใช้แล้วดี ไม่ดีอย่างไร ลองหันไปใช้สินค้าแบบเดียวกันอีกบริษัทหนึ่งดู หรือ แม่ทีมบริษัทขายตรงรายนี้บริการไม่ดี ไปสมัครอยู่ภายใต้ดาวน์ไลน์ของแม่ทีมอีกคนหนึ่งดีกว่าสิ่งทั้งปวงเหล่านี้เป็นกำลัง ตัวบ่งบอกถึงไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคในยุคต่อจากนี้ไป ขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัทว่ามีวิธีในการจัดการอย่างไร ที่จะสามารถเข้ารองรับความต้องการของผู้บริโภคได้ เพราะหลักของการ ทำธุรกิจ ตลาดแบบตรง หรือ ธุรกิจขายตรง คงไม่ใช่มุ่งเน้นเรื่องการขายสินค้า หรือ การหาตัวแทนจำหน่ายเข้ามาอยู่ในระบบเครือข่าย แต่เป็นการสร้างความสัมพันธ์ ให้กลุ่มคนเหล่านี้อยู่กับบริษัทได้นาน ๆ และ ทำอย่างไรที่จะให้คนรุ่นใหม่ได้เข้ามาสู่ธุรกิจเครือข่าย

อนาคตตลาดแบบตรงในเมืองไทย

ธุรกิจ ตลาดแบบตรง ถือเป็นส่วนหนึ่งของการ CRM ( การสร้าง ความสัมพันธ์กับลูกค้า ) ที่ไม่ใช่แค่การมุ่งเน้นเรื่องการขายผลิตภัณฑ์ อย่างเดียว แต่ลูกค้าต้องการสร้างความสัมพันธ์กับแบรนด์ เช่น เมื่อเสียเงินซื้อสินค้าไปบริโภคแล้วคุ้มกับเงินที่จ่ายออกจากกระเป๋าหรือเปล่า , พนักงานขาย หรือ Call Centre สามารถตอบโจทย์ หรือ คำถาม ที่ลูกค้าโทรเข้ามาสอบถามเกี่ยวกับตัวผลิตภัณฑ์ได้หรือเปล่า เพราะลูกค้ายุคนี้ต้องการความเติมเต็มเกี่ยวกับข้อมูลที่ต้องการจะซื้อเกี่ยวกับตัวสินค้านั้น ๆ จึงเป็นเรื่องที่ ผู้ประกอบการต้องกลับไปนั่งคิดโดยเฉพาะเรื่องของการทำข้อมูล Data Base ของลูกค้าแต่ละคนว่าชอบ-ไม่ชอบอะไร อุปนิสัยในการบริโภคสินค้าเป็นอย่างไร สิ่งเหล่านี้ตัวแทนจำหน่าย ในธุรกิจขายตรงสามารถปรับแนวคิดดังกล่าวไปใช้เพื่อต่อยอดองค์กรให้กับตนเอง รวมไปถึงการสร้างความสัมพันธ์กับสมาชิกใหม่ และ เก่า ที่อยู่ภายใต้เครือข่ายได้

อย่างไรก็ดี เห็นได้ว่ายุคนี้มีภาพยนตร์โฆษณาออกมาเยอะมาก รวมทั้งสื่อโฆษณาตามบิลบอร์ด , โปรชัวร์ ซึ่งเป็นเหมือนกับการหว่านแบบกว้าง ๆ ลงไป ในตลาดให้ผู้บริโภครับรู้ข้อมูล แต่การทำตลาดแบบตรง จำต้องมีการทำรูปแบบโฆษณาที่ตรงใจลูกค้าเพื่อให้เกิดการโต้ตอบกลับมาให้ได้ เหมือนอย่างที่ นายกสมาคมนักการตลาด แบบตรงไทย หรือ TDMA และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัททีวี ไดเร็ค จำกัด กล่าวว่า " When the Economics downturn Direct Marketing you work the best " หรือ แปลเป็นไทยว่า " ในยุคเศรษฐกิจแบบนี้ใช่ว่าคนจะมีเงินน้อยลง แต่ด้วยค่าอุปโภค บริโภคที่สูงขึ้น ทำให้ผู้บริโภคเลี่ยงที่จะออกไปจับจ่าย ใช้สอย "

ดังนั้นการตลาดแบบตรงจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากในปัจจุบัน และ อนาคต เพราะคงหมดยุคที่จะรอให้ลูกค้ามาหาเรา ผู้ดำเนินธุรกิจที่สามารถ เข้าถึงผู้บริโภคได้มากก็ถือเป็นรายที่ได้เปรียบกว่า ทั้งนี้ ตลาดแบบตรงถือเป็นกลยุทธ์สิ่งที่สำคัญยิ่งในอนาคต เป็นเหมือนการสร้างช่องทางตลาดให้กับตัวเองแทนการยืม จมูกคนอื่นหายใจ

จตุภูมิแห่งการขายตรง
เป็นเทคนิคของการดำเนินงานที่ต้องมีมุมมองในหลายๆ ทิศทางแล้วนำมาบูรณาการเข้าด้วยกันเพื่อพัฒนาเป็นกลยุทธ์เฉพาะตามความเหมาะสมแต่ละองค์กร ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันธุรกิจต้องดำเนินการแบบ 360 องศา ต้องให้ ความสำคัญในทุกแง่มุมอย่างหลากหลายแบบครบวงจรด้วยความลึกซึ้งและเหมาะสม สำหรับธุรกิจขายตรงหรือนักขายตรงมืออาชีพก็จะต้องดำเนิน กิจกรรมการขายตรงอย่างครบถ้วน บรูณาการประสมประสานเทคนิคและกลยุทธ์ต่างๆ อย่างลงตัว

ซึ่งในแง่มุมของการดำเนินกิจกรรมการขายตรงก็เปรียบเสมือนกับมุมมองของ รูปสี่เหลี่ยม ซึ่งเป็นมุมมองจากภายนอกที่ประกอบด้วยด้านต่างๆ หรือปัจจัย 4 ด้านที่จะต้องให้ความสำคัญ
ถ้าหากว่าให้ความสำคัญกับทั้ง 4 ด้านเท่าๆ กันก็จะเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือ ถ้าให้ความสำคัญกับปัจจัยเท่ากันแค่ 2 ด้านก็จะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือถ้าให้ความสำคัญกับแต่ละปัจจัยหรือแต่ละด้านไม่เท่ากันก็จะเป็นสี่เหลี่ยมคางหมู หรือสี่เหลี่ยมอื่นๆ แล้วแต่จะเรียก ซึ่งแต่ละบริษัทก็จะต้องคำนึงจากปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก ว่าจะดำเนินกลยุทธ์แบบสี่เหลี่ยมประเภทไหน
โดยปัจจัยภายในได้แก่ ผลิตภัณฑ์ การกำหนดราคา แผนการตลาด นโยบายด้านต่างๆ การบริหารทรัพยากรมนุษย์การส่งเสริมการตลาด หรือปัจจัยอื่นๆ ที่เกิดขึ้นภายในองค์กร และสามารถควบคุมได้
สำหรับปัจจัยภายนอกที่มีส่วนเกี่ยว ข้องกับการดำเนินงานซึ่งองค์กรไม่สามารถ ควบคุมได้ โดยมีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม ได้แก่ สภาพทางเศรษฐกิจ อัตราค่าเงินบาท การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันและพลังงานต่างๆ ความมั่นคงทางการเมืองและกฎหมาย กระแสทางวัฒนธรรม ภาวะโลกร้อน หรือปัจจัยอื่นๆ ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากความคาดหมายขององค์กรไม่ว่าจะเป็นสี่เหลี่ยมประเภทไหนก็จะต้อง ประกอบด้วยสี่ด้านเสมอ ซึ่งกลยุทธ์สี่เหลี่ยมสำหรับการขายตรงอาจจะเรียกว่า กลยุทธ์

“จตุภูมิแห่งการขายตรง”

เป็นการนำเสนอกลยุทธ์สำหรับการขายตรง 4 ด้านหรือ 4 ภูมิ เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันให้สามารถดำเนินกิจกรรมขายตรงไปสู่เป้าหมายแห่งความสำเร็จได้ง่ายขึ้น ซึ่งประกอบด้วย

ภูมิที่ 1 สะกิด

การสะกิด เป็นการทดสอบตลาดหรือการหยั่งเชิงลูกค้าเพื่อใช้ศึกษาถึงความต้องการ หรือผลการตอบรับของลูกค้า หรือทัศนคติของลูกค้า หรือศึกษาถึงพฤติกรรม หรือการแบ่งกลุ่มลูกค้า จนนำไปสู่ความสะดวกในการเข้าถึงสามารถสร้างความประทับใจ ทำให้ลูกค้า เกิดความพึงพอใจ

นอกจากนี้ การสะกิด ยังหมายถึง การนำเสนอหรือการสื่อสารกับลูกค้าเพื่อจุดประกายให้ลูกค้าเกิดความสนใจ (Interest) รับรู้ถึงคุณภาพ และคุณค่าด้านต่างๆ ที่ธุรกิจขายตรงมอบให้ ซึ่งในการนำเสนอที่ดีจะต้องสะกิดใจลูกค้า ให้เกิดการเรียนรู้ (Learning) เพื่อนำไปสู่ทัศนคติที่เป็นบวก และเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างประสบการณ์ที่ดีจนลูกค้าเกิดความปรารถนาในตัวสินค้าและบริการ ทำให้ง่ายในการตัดสินใจซื้อหรือสมัครเป็นสมาชิกของธุรกิจขายตรง
เพราะการนำเสนอการขายตรงให้กับลูกค้าครั้งแรกอาจจะไม่สามารถปิดการขายได้ทันที ซึ่งการสะกิดยังช่วยในการสังเกตถึงการแสดงออก หรือมุมมองที่มีต่อการขายตรงของลูกค้า และที่สำคัญในการนำเสนอการขายตรงจะต้องไม่ใช่เป็นการหวังผลยอดขายอย่างเดียวหรือยัดเยียดความต้องการให้กับลูกค้า
เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นจะได้ผลในระยะสั้นเท่านั้น ถ้าต้องการให้การขายตรงฝังแน่นในใจของลูกค้าอย่างยาวนานก็จะต้องค่อยๆ สะกิดลูกค้าและแทรกซึมสร้างความประทับใจให้ลูกค้ารับรู้อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ

ภูมิที่ 2 เขี่ย

การเขี่ย เป็นการศึกษาถึงพฤติกรรมของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายอย่างลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น หรืออาจจะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มลูกค้า เพื่อทำการศึกษาภาคสนามหรือสำรวจตลาดโดยการเข้าไปคลุกคลีกับกลุ่มเป้าหมาย หรือจัดกิจกรรมสัมพันธ์ต่างๆ ร่วมกัน ซึ่งถ้าหากไม่มีการแบ่งลูกค้าเป้าหมายเป็นกลุ่มๆ ก็จะทำได้ยาก
เพราะเมื่อมีการแบ่งเป็นกลุ่มหรือเป็นระดับ แล้วจึงศึกษาลูกค้าแต่ละกลุ่มแต่ละระดับ ด้วยเครื่องมือหรือเทคนิคที่แตกต่างกันให้เหมาะสมกับแต่ละกลุ่ม ก็จะทำให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเหล่านั้นได้ง่ายขึ้น
นอกจากนี้ จะต้องกำหนดระดับความสำคัญของแต่ละกลุ่ม เพื่อทำให้ไม่เสียโอกาสในการศึกษาหรือการเข้าถึง การเขี่ยเป็นการนำเสนอกลยุทธ์การขายตรงในลักษณะที่เป็นกลุ่มและเป็นการนำเสนอในลักษณะเชิงลึกเพื่อหวังผลทางธุรกิจมากขึ้น หรืออาจจะเป็นการปิดการขายจากการที่ได้ เปิดการขายไว้แล้วหรือเป็นการนำเสนอขายในขั้นที่สอง เพื่อหวังผลจากยอดขายนั้นแสดงให้เห็นว่าในการเขี่ย นักขายตรงจะต้องคัดเลือกกลุ่มลูกค้าที่มีศักยภาพเพียงพอเพื่อทำการศึกษา (เขี่ย) ซึ่งอาจจะเป็นผลต่อเนื่องมาจากภูมิที่ 1 เมื่อสะกิดใจลูกค้าได้แล้วก็จะต้องเขี่ยหรือตอกย้ำความประทับใจให้สามารถเข้าถึงใจและนั่งอยู่ในใจของลูกค้าให้ได้

ภูมิที่ 3 เจาะ

การดำเนินกิจกรรมขายตรงปัจจัยในการ กำหนดความสำเร็จก็คือยอดขายและการสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็ง สำหรับภูมิที่ 3 คือ เจาะ ซึ่งในที่นี้ก็หมายถึงเจาะใจลูกค้าเพื่อพัฒนาลูกค้าเป็นทีมงานที่มีคุณภาพ สร้างเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพ
สาเหตุที่ต้องเจาะใจลูกค้าเฉพาะบุคคลก็เพื่อเป็นการคัดเลือกเฉพาะลูกค้าที่มีศักยภาพ สามารถพัฒนาเป็นทีมงานหรือเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพ เพราะลูกค้าทุกรายไม่ใช่เป็นทีมงานหรือเครือข่ายที่มีคุณภาพได้ทุกคน และการสร้างทีมงานที่มีคุณภาพนั้นก็จะต้องใช้เทคนิคและวิธีการที่แตกต่างกัน ดังนั้น นักขายตรงมืออาชีพจะต้องมีความเป็นผู้นำและต้องพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนจะต้องมีความสามารถในการจูงใจหรือมีวิธีการเข้าถึงหรือการเจาะใจทีมงานได้อย่างมีประสิทธิผล เพื่อสามารถที่จะนำองค์กรแห่งเครือข่ายขายตรงไปสู่ความสำเร็จได้อย่างไม่ยาก หรือการเจาะก็เป็นการคัดเลือกลูกค้าหรือผู้บริโภคเป็นนักขายตรงมืออาชีพเพื่อพัฒนาให้เป็นผู้นำหรือก้าวไปข้างหน้าสู่ความสำเร็จอีกระดับหนึ่ง ซึ่งเป็นการ พัฒนาด้วยเทคนิคและกระบวนการที่เหมาะสมสำหรับเฉพาะแต่ละบุคคล

ภูมิที่ 4 โอบล้อม

ภูมิสุดท้าย โอบล้อม เป็นการประเมินและพัฒนาตนเองในทุกแง่ทุกมุม โดยการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของการขายตรงอย่างครบเครื่องหรือบูรณาการกลยุทธ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน สำหรับกลยุทธ์ภูมินี้ นักขายตรงจะต้องใส่ใจและให้ความสำคัญกับทุกๆ รายละเอียดที่จะนำเสนอหรือสื่อสารให้ลูกค้าและทีมงานได้รับรู้ ซึ่งการดำเนินกิจกรรมจะต้องสามารถสอดรับและตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าหรือผู้บริโภค และทีมงานในเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการโอบล้อมในภูมินี้ หมายถึง การนำกลยุทธ์ขายตรงในทุกๆ ด้านมาเชื่อมโยงผสมผสานเข้าด้วยกันอย่างครบวงจร ไม่ว่าเป็นการสื่อสารทางการตลาดที่มุ่งสู่ผู้บริโภคและทีมงาน การส่งเสริมการขาย เพื่อการกระตุ้นและจูงใจ การฝึก อบรม สัมมนา ประชาสัมพันธ์ ตลอดจนการจัดกิจกรรมการส่งเสริมการตลาดต่างๆ ทั้งเป็นการสนับสนุนให้ลูกค้าซื้อสินค้าเพิ่มมากขึ้นหรือพัฒนา ส่งเสริมให้ทีมงานหาเครือข่ายที่มีคุณภาพได้ง่ายยิ่งขึ้น นอกจากนี้นักขายตรงจะต้องกำหนด สัดส่วนและลำดับความสำคัญของแต่ละกิจกรรมให้มีความสอดคล้องกับลูกค้าหรือทีมงานแต่ละกลุ่ม ภายใต้สถานการณ์ ต่างๆ ในช่วงเวลาที่เหมาะสม สามารถสร้างความพึงพอใจได้ในทุกๆ ส่วนที่เกี่ยวข้อง และกลยุทธ์ต่างๆ จะต้องดำเนิน การอย่างหลากหลายไปในทิศทางเดียวกัน อย่างต่อเนื่องในช่วงจังหวะเวลาที่สอดรับกัน

จตุภูมิแห่งการขายตรง ก็เป็นอีกกลยุทธ์ที่สามารถสร้างรากฐานให้แก่ธุรกิจขายตรงมีความมั่นคงยั่งยืน และเป็นเทคนิคของการดำเนินงานที่ต้องมีมุมมองในหลายๆ ทิศทาง แล้วนำมาบูรณาการเข้าด้วยกันเพื่อพัฒนาเป็นกลยุทธ์เฉพาะตามความเหมาะสมแต่ละองค์กร ซึ่งมีแง่มุมหลากหลายที่จะต้องให้ความสำคัญ แบบครบวงจรทั้ง 4 ด้าน โดยการให้น้ำหนักแต่ละด้านสำหรับแต่ละองค์กรอาจจะไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับความเหมาะสมขององค์กรภายใต้สถานการณ์ที่แตกต่างกัน
ข้อดี ของธุรกิจขายตรงคือ ที่ตั้งสำนักงานไม่จำเป็นต้องอยู่ในย่านการค้า จึงเป็นการช่วยลดต้นทุน