วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

SWOT Analysis

ผลวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และภาวะคุกคาม (SWOT Analysis)

S จุดเด่น
1. กล้วยไม้ไทยมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักดีที่สุดในโลก
2. ไทยเป็นผู้นำตลาดด้านกล้วยไม้เมืองร้อน มีส่วนแบ่งสูงที่สุดในตลาดโลก
3. มีตลาดรองรับขนาดใหญ่ในประเทศถึงกว่าครึ่งหนึ่งของผลผลิตทั้งหมด
4. แหล่งเพาะปลูกตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีสภาพภูมิอากาศเหมาะสมอย่างมาก
5. มีกลุ่มธุรกิจผู้ป้อนปัจจัยและวัตถุดิบการผลิตอยู่อย่างครบครันและเพียงพอ
6. เกษตรกรมีประสบการณ์ในการปลูกเลี้ยงมายาวนานทำให้มีทักษะความเชี่ยวชาญสูง
7. มีวิทยาการก้าวหน้าด้านการปรับปรุงสายพันธุ์ มีห้องปฏิบัติการที่มีประสิทธิภาพ
8. ผู้ประกอบการมีการรวมตัวเพื่อการพัฒนาและแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างจริงจังโดยเฉพาะในเรื่องของคุณภาพและการจัดส่ง
9. มีธุรกิจการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อที่สามารถผลิตต้นพันธุ์ที่มีคุณภาพและราคาต่ำกว่าประเทศอื่น รวมทั้งเกษตรกรบางส่วนสามารถพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและปรับปรุงพันธุ์ได้เอง



W จุดด้อย
1. ขาดอำนาจต่อรองในการได้รับการจัดสรรเที่ยวบินที่เหมาะสมทำให้เสียโอกาสทางการตลาด
2. เป็นสินค้าที่เน่าเสียง่ายต้องการความรวดเร็วและความระมัดระวังในการขนส่งอย่างมาก
3. ราคาผันผวนตามฤดูกาล
4. คุณภาพไม่สม่ำเสมอและลดต่ำลงเมื่อถึงมือผู้บริโภคเนื่องจากขาดการจัดการที่มีประสิทธิภาพในระดับสวน/ฟาร์ม เช่น การตัดดอกในขณะที่ยังมีจำนวนดอกบานน้อย และมีการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวที่ไม่เหมาะสม เช่น การรมสาร Methyl bromide เพื่อแก้ปัญหาเพลี้ยไฟในกล้วยไม้ส่งออก
5. ขาดการทำตลาดเชิงรุก (ขาดข้อมูลการตลาด ขาดการประชาสัมพันธ์ ขาดการพัฒนาตราสินค้า)
6. ขาดการปรับปรุงคุณภาพผลผลิต และขาดการควบคุมคุณภาพการส่งออกกล้วยไม้ไทยไปยังต่างประเทศ



O โอกาส
1. ตลาดต่างประเทศมีแนวโน้มการเติบโตสูงทั้งในตลาดเดิม และ ตลาดใหม่ เช่น จีน
2. ยังไม่มีอุปสรรคด้านการกีดกันทางการค้า
3. ได้รับความสนับสนุนช่วยเหลือจากสถาบันการศึกษา และ หน่วยงาน องค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้องหลายแห่งในด้านการถ่ายทอด เผยแพร่ พัฒนา องค์ความรู้ ทั้งในรูปของการพัฒนาจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอน การฝึกอบรม และการวิจัยพัฒนา



T อุปสรรค
1. ใบตรวจโรคพืชของไทยยังไม่ได้รับการยอมรับจากคู่ค้าบางประเทศ
2. ต้นทุนการขนส่งสูงมากจากค่าระวางที่มีราคาแพง
3. สนามบินไม่มีคลังห้องเย็นสำหรับพักเก็บสินค้าระหว่างรอการส่งออกทำให้คุณภาพของสินค้าด้อยลงเมื่อถึงปลายทาง
4. ปัญหาเรื่องการจดทะเบียนสิทธิบัตรการพัฒนาสายพันธุ์ และลิขสิทธิ์พันธุ์พืช
5. ขาดตลาดกลางการค้ากล้วยไม้ทำให้การกำหนดราคาไม่เป็นไปตามกลไกการตลาด

การส่งออกดอกไม้และดอกไม้ประดิษฐ์ของไทย



ดอกไม้และดอกไม้ประดิษฐ์

ดอกไม้และดอกไม้ ประดิษฐ์ เป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญชนิดหนึ่งของไทย มีมูลค่าการส่งออกปีละประมาณ 3,000-4,000 ล้านบาท สามารถนำรายได้จากต่างประเทศเข้ามาเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามในปี 2532 สหรัฐอเมริกาได้ตัด GSP สำหรับ ดอกไม้ผ้าประดิษฐ์ด้วยมือจากประเทศไทย การตัด GSP ดัง กล่าวเป็นเหตุให้เกิดผลกระทบอย่างมากต่อการส่งออกดอกไม้ประดิษฐ์ของไทย เนื่องจาก ภาษีนำเข้าจากไทยสูงขึ้นราคาสินค้ากลุ่มนี้ได้สูงขึ้นในด้านผู้ซื้อ ยิ่งไปกว่านั้นค่าจ้างแรงงานของไทยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่งขันคือ จีนยังทำให้ดอกไม้และดอกไม้ประดิษฐ์ของไทยเสียเปรียบเชิงเปรียบเทียบ จีนได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในการส่งออกดอกไม้และดอกไม้ประดิษฐ์ในตลาดต่าง ประเทศรายสำคัญ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา และเยอมันตะวันตก เนื่องจากมีราคาขายต่ำและค่าจ้างแรงงานต่ำ ดังนั้น ธุรกิจดอกไม้ประดิษฐ์ของไทยในช่วงปี 2533 จึงประสบ ปัญหา แม้ว่าในปี 2540 สหรัฐอเมริกาได้คืน GSP มาให้ไทยแล้วก็ตาม ภาครัฐและผู้ประกอบการได้มีการปรับตัวโดยพยายามหาตลาดใหม่ๆ ทดแทนตลาดสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันมีการขยายตลาดไปยังประเทศอังกฤษ ญี่ปุ่น สิงค์โปร์ สเปน เยอรมนี อิตาลี ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ โปรตุเกส แม็กซิโก ไต้หวัน อินเดีย เนเธอร์แลนด์ ฮ่องกง สหรัฐอาหรับอิมิเรต เกาหลี แคนาดา เป็นต้น นอกจากนั้น ยังได้มีการคิดค้นวัสดุใหม่ๆ เพื่อนำมาทำดอกไม้ประดิษฐ์เพื่อสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งขันและมีการ คิดค้นสูตรการผลิตที่ลอกเลียนแบบได้ยากยิ่งขึ้น


ตลาดส่งออก

•    ในช่วงปี 2527-2532 เป็นปี ทองของการส่งออกดอกไม้ประดิษฐ์ของไทยเนื่องจากประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่ ได้แก่ สิงคโปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน และเกาหลีใต้ ต่างถูกถอนสิทธิพิเศษทางการค้าและภาษีศุลกากร(Generalize System of Preference : GSP) จากสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นผู้นำเข้าสินค้า รายใหญ่ของโลก ขณะที่ไทยยังได้รับสิทธิพิเศษดังกล่าวโดยได้รับการยกเว้นการเก็บภาษีนำเข้า ส่งผลให้ประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่ย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทยเพื่อต้องการ ใช้สิทธิ GSP ของไทยในการส่งออกดอกไม้ประดิษฐ์ไปยัง ตลาดสหรัฐอเมริกา ไทยสามารถส่งออกดอกไม้ประดิษฐ์ได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 31.0 ต่อปีระหว่างปี 2527-2532

•    ตลาดสหรัฐอเมริกาเป็นตลาดขนาดใหญ่ มีความต้องการใช้ดอกไม้ประดิษฐ์เพิ่มมากขึ้นทุกปี ปัจจุบันเป็นตลาดที่นิยมสินค้าราคาถูกในตลาดระดับล่างมากกว่าสินค้าระดับปาน กลางขึ้นไปเช่นที่ไทยผลิตส่วนใหญ่ในปัจจุบัน กลุ่มลูกค้าของไทยจึงมีลักษณะเฉพาะเป็นกลุ่มลูกค้าประเภทนักออกแบบตกแต่ง ภายในที่ชื่นชอบและเชื่อมั่นสินค้าไทยเพราะรูปแบบของสินค้าที่เหมือนจริง อย่างไรก็ตาม ขนาดตลาดของกลุ่มลูกค้าดังกล่าวค่อนข้างเล็กเมื่อเทียบกับตลาดสินค้าดอกไม้ ประดิษฐ์ทั่วไปในสหรัฐอเมริกา


การแข่งขันใน ตลาดต่างประเทศ

•    สถานการณ์การแข่งขัน ผู้ประกอบการไทยยังคงต้องเผชิญกับภาวะการแข่งขันจากคู่แข่ง 2 กลุ่ม (Competitive Nutcracker) ได้แก่ กลุ่มที่ผลิตดอกไม้ ใบไม้ และต้นไม้ประดิษฐ์คุณภาพสูง ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา เยอรมนี และเบลเยี่ยม โดยมีจุดเด่นในด้านการออกแบบชิ้นงาน และ การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาเสริมศักยภาพ และกลุ่มที่ ผลิตสินค้าคุณภาพปานกลางถึงต่ำ ซึ่งมีราคาจำหน่ายเฉลี่ยต่อหน่วยต่ำกว่าไทย ได้แก่ จีน  ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย  โดยอาศัยปัจจัยสนับสนุนจากอุปทานของแรงงานที่มีเป็นจำนวนมากและ มีการพัฒนาแรงงานฝีมืออย่างต่อเนื่องในการผลิตสินค้าหัตถกรรม  นอกจากนี้จีนยังมีความพร้อมของเทคโนโลยีการผลิตที่ได้รับการ ถ่ายทอดจากนักลงทุนชาวไต้หวันและฮ่องกงที่เป็นผู้ชำนาญด้านการผลิตสินค้า กลุ่มนี้และได้ขยายฐานการผลิตเข้าไปในจีน

•    เนอร์เธอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกาและเยอรมนี  ในแต่ละปีกลุ่มประเทศที่ผลิตสินค้าคุณภาพสูง เช่น เนเธอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกาและเยอรมนี มีสัดส่วนของส่วนแบ่งตลาดรวมกันเพียงร้อยละ 6-7 เท่านั้น มีอัตราการเติบโตค่อนข้างทรงตัว มีตลาดหลักเป็นตลาดเดิมคือประเทศแถบยุโรป 


แนวโน้มตลาด

•    ตลาดส่งออกดอกไม้สดมีแนวโน้มที่ ยังคงเติบโตได้ ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญกับคุณภาพและบรรจุภัณฑ์เพื่อถนอมความสดใหม่ของ สินค้า


•    ตลาดดอกไม้ประดิษฐ์ระดับกลางขึ้น ไป ผู้ประกอบการไทยควรมุ่งเน้นการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ใกล้เคียงธรรมชาติต่อ ไป โดยอาศัยความได้เปรียบด้านฝีมือแรงงานซึ่งได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ พร้อมทั้งขยายตลาดไปสู่กลุ่มประเทศที่ให้ความสำคัญกับความประณีตและคุณภาพ ของสินค้ามากกว่าราคา เช่น กลุ่มประเทศในยุโรป ได้แก่ สหราชอาณาจักร เยอรมนี สเปน และไอร์แลนด์ เป็นต้น

•    หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และเอกชนควรต้องร่วมมือกันอย่างจริงจังในการเสริมสร้างศักยภาพการผลิตดอกไม้ ใบไม้ และต้นไม้ประดิษฐ์ของไทย ทั้งในด้านการผลิตและการตลาด ทั้งนี้เพื่อสร้างโอกาสในการขยายส่วนแบ่งตลาดดอกไม้ ใบไม้ และต้นไม้ประดิษฐ์ของไทยในตลาดโลกอย่างยั่งยืน อันจะนำมาซึ่งยุคทองของสินค้ากลุ่มนี้อีกครั้งเช่นในอดีต

ปัญหาและแนวทางการแก้ไข

1.    ด้านแรงงาน ดอกไม้ผ้าที่ทำด้วยมือนั้นเป็นงานประดิษฐ์ที่ต้องใช้ฝีมือของแรงงาน ผู้ผลิตและหน่วยงานรัฐควรจะร่วมมือกัน
2.    เอกลักษณ์และความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ ลูกค้าในตลาดใหม่ๆ เช่น ยุโรปตะวันออก ตะวันออกกลาง ละตินอเมริกา และรัสเซีย เป็นตลาดที่มีศักยภาพ แต่จีนได้พยายามเปิดตลาดดังกล่าวเช่นเดียวกับไทย ดังนั้น การปรับตัวของผู้ประกอบการไทยเพื่อรองรับการแข่งขันในอุตสาหกรรมดอกไม้ ประดิษฐ์ ควรให้ความสำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านคุณสมบัติและส่วนผสมของวัตถุดิบรวม ถึงเทคโนโลยีการผลิต โดยเน้นการนำวัสดุท้องถิ่นในประเทศมาพัฒนาปรับปรุงให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้เกิดเอกลักษณ์และความแตกต่างจากคู่แข่ง เช่น สูตรของวัตถุดิบเพื่อสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ได้แก่ สูตรสำหรับดอกไม้กลางแจ้งที่ทนต่อแสงแดด ดอกไม้ในร่มที่ไม่ก่อให้เกิดการสะสมของฝุ่น เป็นต้น หรือสูตรของวัตถุดิบที่มีกลิ่นหอมเหมือนดอกไม้ธรรมชาติที่อาจพัฒนามาจาก ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติหรือสมุนไพรไทย แต่ควรต้องผ่านการศึกษาวิจัยอย่างละเอียด หรือการคิดค้นเทคโนโลยีการผลิตส่วนประกอบต่างๆ ของดอกไม้ประดิษฐ์ให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้นและยากต่อการลอกเลียนแบบเพื่อ ป้องกันการเข้าสู่ตลาดของผู้ประกอบการรายใหม่

3.    กลยุทธ์การเพิ่มมูลค่าสินค้า โดยการออกแบบชิ้นงานให้มีความโดดเด่น และการนำเสนอสินค้าให้มีความหลากหลายมากขึ้นภายใต้การบริหารจัดการต้นทุนที่ มีประสิทธิภาพ เพื่อพยุงผลกำไร พร้อมทั้งขยายตลาดกลุ่มเป้าหมายให้มากขึ้น ทั้งกลุ่มหนุ่มสาววัยทำงาน กลุ่มโรงแรมหรูหราราคาระดับสูง และกลุ่ม
รี สอร์ต รวมถึงปรับปรุงการจัดส่งและระบบการจัดจำหน่าย เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้ทั่วถึงและรวดเร็วยิ่งขึ้น

4.    ติดตามและศึกษารสนิยมผู้บริโภคในตลาดเป้าหมาย เนื่องจากรสนิยมของผู้บริโภคในแต่ละประเทศมีความแตกต่างกันและมีการ เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ผู้ประกอบการไทยจึงต้องศึกษาและติดตามโดยตลอดเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้ตาม ความต้องการ

5.    การสนับสนุนแหล่งทุน หน่วยงานของภาครัฐควรก้าวเข้ามามีบทบาทเพิ่มมากขึ้นในการปรับปรุงพัฒนา อุตสาหกรรมนี้ โดยเฉพาะในส่วนของเงินทุนในการทำการศึกษาวิจัยและพัฒนาเครื่องจักร รวมถึงเทคโนโลยีที่ทันสมัย เนื่องจากผู้ผลิตส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ที่มี เงินทุนไม่มากนัก เพื่อยกระดับให้สินค้าดอกไม้ประดิษฐ์ของไทยสามารถก้าวไปสู่ตลาดระดับกลางถึง บนได้อย่างยั่งยืนในอนาคต

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

•        ความ คิดริเริ่มในการนำวัสดุใหม่ๆ มาใช้ในงานประดิษฐ์ดอกไม้ ให้มีความสวยงามใกล้เคียงธรรมชาติ

•        ความ พยายามในการลดต้นทุน ควบคุมวัตถุดิบสูญเสียและเพิ่มระบบการบริหารจัดการในกลุ่มผู้ประกอบการ ดอกไม้ประดิษฐ์ระดับครัวเรือนหรือหมู่บ้าน

•        การ สร้างโอกาสในการขยายตลาดส่งออกไปยังประเทศอื่นๆ ที่มีความต้องการใช้ดอกไม้และดอกไม้ประดิษฐ์ เนื่องจากการเติบโตของเมือง ตลอดจนศึกษาความต้องการของตลาดเฉพาะกลุ่ม (Niche Market) เพื่อพัฒนาและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ได้ตามความต้องการ

•        ธุรกิจร้านดอกไม้ ภายในประเทศ ผู้ประกอบการได้พยายามปรับตัวโดยการสร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์และเพิ่มช่อง ทางการจำหน่าย ได้แก่ การมุ่งเน้นการออกแบบและนำเทคนิคการจัดดอกไม้ใหม่ๆ มาใช้ เพิ่มบริการส่งสินค้าโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เพิ่มช่องทางกระจายสินค้าผ่านบริการทางอินเทอร์เน็ต ร่วมมือกับพันธมิตรในธุรกิจที่มีความใกล้เคียงกันโดยให้บริการที่ครบวงจรมาก ขึ้น ดังนั้น ความสำเร็จคือความพร้อมในการปรับตัวสำหรับ
พลวัตรทางธุรกิจ ที่สามารถเกิดขึ้นได้

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ข้อมูลความแตกต่าง

ความแตกต่าง
การตลาดระหว่างประเทศ กับ การค้าระหว่างประเทศ

การตลาดระหว่างประเทศ (International Marketing) 


      สมาคม การตลาดแห่งสหรัฐอเมริกา (AmericanMarketing Association: AMA)  ให้คำจำกัดไว้ว่า การตลาดระหว่างประเทศเป็นกระบวนการวางแผน การจัดแนวความคิด การตั้งราคา การจัดช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมทางการตลาดเพื่อให้สินค้าและบริการสามารถตอบสนองความต้องการของ บุคคลหรือองค์กรที่อยู่ในนานาประเทศ (Multinational)
     ดังนั้น การตลาดระหว่างประเทศ คือ การทำธุรกิจค้าขายเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มที่อยู่ในรูป ของสินค้าและบริการให้กับลูกค้าข้ามพรมแดนตลาดระหว่างประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อหาตลาดใหม่ แย่งส่วนแบ่งทางการตลาด เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าใน ตลาดระหว่างประเทศ โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงคือ ธุรกิจต้องการรายได้ที่เป็นเงินจากลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ


การค้าระหว่างประเทศ (International trade)
     การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากันระหว่างประเทศต่าง ๆ กัน ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากแต่ละประเทศมีทรัพยากรไม่เหมือนกันประเทศหนึ่งผลิต สินค้าชนิดหนึ่ง แต่ผลิตอีกชนิดหนึ่งไม่ได้จึงจำเป็นต้องต้องนำสินค้าอีกประเทศหนึ่งที่ตน ผลิตได้ไปแลกเปลี่ยนกับอีกประเทศหนึ่ง


แหล่งข้อมูล
http://learners.in.th/file/kulkanit/
www1.webng.com/logisticseminar/.../International_Marketing.doc

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประวัติประเทศเกาหลี (한국 หรือ 조선)

เป็นประเทศในอดีตตั้งอยู่ในคาบสมุทรเกาหลี ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศเกาหลีถูกแบ่งออกเป็น ประเทศเกาหลีเหนือ และ ประเทศเกาหลีใต้


ประวัติศาสตร์
โดยย่อ

เริ่มจาก อาณาจักรโคโชซอน สถาปนาขึ้นโดย "ทันกุน" ต่อมาสมัยสามอาณาจักรแห่งเกาหลี ถูกรวมเข้าด้วยกันเป็นสหอาณาจักรชิลลา ซึ่งมีพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง และต่อมา ค.ศ. 918 ได้สถาปนา[[อาณาจักรโคเรียว] หรือ โค-รยอ ซึ่งเป็นชื่อของเกาหลี (KOREA) และเมื่อราชวงศ์โชซอน(ราชวงศ์ลี)ครองอำนาจเปลี่ยนชื่ออาณาจักรใหม่ ชื่อ อาณาจักรโชซอนเมืองหลวงชื่อว่า ฮันยาง (กรุงโซล) มีลัทธิขงจื้อ เป็นคติธรรมประจำชาติ และได้ประดิษฐ์อักษรเกาหลี ขึ้น ในปี พ.ศ. 2453 ต้องอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่นจนกระทั่งสิ้นสุด สงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ได้รับอิสรภาพอย่างถาวร
ประเทศเกาหลีแบ่งเป็น 2 ประเทศ คือ เกาหลีใต้และเกาหลีเหนือ โดย ประเทศเกาหลีใต้สถาปนาเป็น สาธารณรัฐเกาหลี ประเทศเกาหลีเหนือ สถาปนา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี



ภูมิศาสตร์

คาบสมุทรเกาหลีไปทางทิศใต้ทางด้านตะวันออกของทวีปเอเชีย ความยาว 1,020 กิโลเมตร (612 ไมล์) และกว้าง 175 กิโลเมตร (105 ไมล์) ณ จุดที่แคบที่สุดของคาบสมุทร พื้นที่ 70% ของประเทศเป็นเทือกเขา เป็นประเทศที่มีภูมิประเทศเป็นเทือกเขามากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เป็นหินแกรนิตและหินปูนทำให้เกิดภูมิประเทศที่สวยงาม  ประกอบด้วยเทือกเขาและหุบเขา เป็นแหล่งเกษตรกรรม โดยเฉพาะในด้านการผลิตข้าว คาบสมุทรเกาหลีถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ที่บริเวณเหนือเส้นขนานที่ 38 คือ ประเทศระบอบประชาธิปไตย สาธารณรัฐเกาหลีอยู่ทางใต้ และประเทศระบอบคอมมิวนิสต์ เกาหลีเหนือ โดยถูกคั่นกลางโดยเขตปลอดทหาร ประเทศเกาหลีใต้มีพื้นที่ 99,500 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 47.9 ล้านคน (ค.ศ. 2003) ประกอบด้วย 9 จังหวัด (โด) กรุงโซลเป็นเมืองหลวงของประเทศ และประกอบด้วยเมืองใหญ่ ๆ 6 เมือง คือพูนซา น แทกู อินชน ควางจู แทจอน และ อุลซาน รวมมีเมืองทั้งหมด 77 เมือง (ซี) 88 มณฑล (กุน) ใน 9 จังหวัด

การเมือง วัฒนธรรม เศรษฐกิจ

การเมือง หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2491 คาบสมุทรเกาหลีถูกแบ่งเป็นสองส่วนโดยเส้นละติจูดที่ 38 องศาเหนือ (มักเรียกว่าเส้นขนาน 38) โดยสหภาพโซเวียตดูแลเกาหลีเหนือมีการปกครองระบอบสังคมนิยม ส่วนสหรัฐอเมริกาดูแลเกาหลีใต้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย
ศาสนา ชาวเกาหลีเหนือนับถือศาสนาพุทธ 23.33% ศาสนาคริสต์ 0.05% และ ไม่นับถือศาสนา
เศรษฐกิจ เปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจจากเกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรม
                                   นำข้อมูลมาจาก www.thaigoodview.com/node/1447
ศิลปะ

ชนชาติเกาหลีได้ถ่ายทอดความเป็นอัจฉริยะทางศิลปะผ่านทางดนตรี นาฎศิลป์ และจิตรกรรม ซึ่งได้มีการพัฒนามาตลอดระยะเวลา 5,000 ปีของประวัติศาสตร์เกาหลี แม้ว่าศิลปะตะวันตกในรูปแบบต่าง ๆ จะแพร่หลายอยู่ในประเทศ แต่ศิลปะเกาหลีอันมีเอกลักษณ์ เฉพาะตัวยังได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะในลักษณะดั้งเดิม หรือผสมผสานกับศิลปะร่วมสมัย

ดนตรีประจำชาติ

ชนชาติเกาหลีมีดนตรีที่เรียกว่า คุกอัก มีที่มาคล้ายคลึงกับดนตรีจีนและญี่ปุ่น จะพบว่า ดนตรีเกาหลีมีลักษณะแตกต่างอย่างชัดเจนจากดนตรีชนิดอื่น ๆ ในแถบเอเชียตะวันออก กล่าวคือ ดนตรีเกาหลีประกอบด้วยสามจังหวะในหนึ่งห้อง ในขณะที่ดนตรีจีนและญี่ปุ่นมีสองจังหวะในหนึ่งห้อง คุกอัก แบ่งออกเป็นสองประเภท คือ ชองอัก หรือดนตรีในราชสำนัก และมินซกอัน หรือดนตรีพื้นบ้าน ชองอัก ซึ่งเป็นดนตรีชั้นสูง มีท่วงทำนองเชื่องช้า เยือกเย็น และซับซ้อน ส่วนมินซกอัก ได้แก่ ดนตรีของชาวนาชาวไร่ พันซอรี (ดนตรีที่เน้นการแสดงความรู้สึก) และดนตรีพิธีไสยศาสตร์ มีจังหวะที่รวดเร็วและกระฉับกระเฉง

นาฏศิลป์

ศิลปะการร่ายรำแบบเกาหลีแบ่งออกเป็น 2 ประเภทเช่นเดียวกับดนตรี คือ แบบราชสำนักและแบบพื้นบ้าน ในแบบฉบับของราชสำนักนั้น ท่าทางของการรำจะช้าและสง่างาม ซึ่งสะท้อนปรัชญาของการเดินสายกลางและการระงับอารมณ์ความรู้สึก เป็นอิทธิพลมาจากปรัชญาขงจื้อ ในทางตรงกันข้าม ระบำพื้นบ้านซึ่งสะท้อนชีวิตการทำงานและศาสนาของสามัญชนจะใช้จังหวะและทำนองที่สนุกสนาน เป็นลักษณะของการแสดงออกที่เป็นอิสระและมีชีวิตชีวาของคนเกาหลี เช่น ระบำของชาวนาชาวไร่ ระบำหน้ากาก และการร่ายรำทางไสยศาสตร์



การค้าระหว่างประเทศของเกาหลีใต้
ปี 2543 (ม.ค.-ก.ย.) ปี 2544 (ม.ค.-ก.ย.)
ล้านเหรียญสหรัฐฯ ล้านเหรียญสหรัฐฯ %เพิ่ม/ลดมูลค่าการค้า 246,095 220,927 -10.23 การส่งออก 127,054 114,236 -10.09 การนำเข้า 119,041 106,691 -10.37 ดุลการค้า 8,013 7,545 -5.84
2.2 การส่งออก : ลดลงร้อยละ 10.09
การส่งออกของเกาหลีใต้ในปี 2544 (ม.ค.-ก.ย.) มีมูลค่า 114,236 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากปี 2543 (ม.ค.-ก.ย.) เป็นมูลค่า 12,818 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือลดลงร้อยละ 10.09

             สินค้าส้งออกสำคัญ ที่ส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ รถยนต์นั่ง เรือโดยสาร เรือสินค้า  เครื่องส่งวิทยุ โทรทัศน์ ส่วนประกอบเครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคม ผ้าถักแบบนิตหรือโครเชต์  ส่วนประกอบรถยนต์ เรือขุด แท่นเจาะลอยน้ำ เครื่องปรับอากาศ และยางนอกชนิดอัดลม
 ตลาดส่งออกสำคัญ ที่ส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ จีน อินโดนีเซีย  เนเธอร์แลนด์ อิตาลี  สหรัฐอาหรับฯ  บราซิล  ปานามา เวียดนาม  กัมพูชา บรูไน  และลาว

          สินค้านำเข้าสำคัญ ที่นำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันสำเร็จรูป ถ่านหิน ส่วนประกอบเครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคม  ส่วนประกอบรถยนต์ สินแร่เหล็ก ข้าวโพด และหม้อแปลงไฟฟ้า
 การค้าระหว่างประเทศเกาหลีใต้กับไทย
 ภาพรวม : การค้าลดลงร้อยละ 2.67
มูลค่าการค้า 2,621 2,551 -2.67
การส่งออก 1,480 1,392 -5.95
การนำเข้า 1,141 1,159 1.58
ดุลการค้า 339 233 -31.27

            การส่งออก : เกาหลีใต้ส่งออกมาไทยลดลงร้อยละ 5.95
สินค้าสำคัญที่เกาหลีใต้ส่งออกมาไทยเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องส่งวิทยุ โทรทัศน์ ทองคำ เม็ดพลาสติกชนิด โพลิอะซีทัล เหล็กแผ่นรีดเย็น ผ้าถักแบบนิตหรือโครเชต์ ปลาสดแช่แข็ง และเครื่องซักผ้า สำหรับสินค้าสำคัญที่เกาหลีใต้ส่งออกมาไทยลดลง ได้แก่ หลอดเทอร์มิโอนิก แผงวงจรไฟฟ้า ส่วนประกอบเครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคม  เหล็กแผ่นชุบผ้าไม่ทอทำด้วยใยยาวประดิษฐ์  เม็ดพลาสติกชนิด สไตรีน ไดโอด ทรานซิสเตอร์  และเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์

              การนำเข้า : เกาหลีใต้นำเข้าจากไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.58
สินค้าสำคัญที่เกาหลีใต้นำเข้าจากไทยเพิ่มขึ้น ได้แก่ ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ ไก่สดแช่เย็น กุ้ง ปูสดแช่เย็น  ด้ายเส้นใยสั้นเทียมที่ไม่ได้สาง มอเตอร์ไฟฟ้ากากน้ำตาล พัดลม เครื่องสูบลม เครื่องจักรไฟฟ้าที่ทำงานเป็นเอกเทศ  และเนื้อปลาสดแช่เย็น แช่แข็ง   สำหรับสินค้าสำคัญที่เกาหลีใต้นำเข้าจากไทยลดลง ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้าเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์  น้ำมันจากถ่านหิน น้ำตาล  หลอดเทอร์มิโอนิก  ไดโอด ทรานซิสเตอร์ เครื่องตัดต่อสำหรับป้องกันวงจรไฟฟ้า  และเม็ดพลาสติกชนิด โพลิอะซีทัล
 ดุลการค้า : เกาหลีใต้เกินดุลการค้ากับไทยลดลงร้อยละ 31.27

การตลาดระหว่างประเทศ
การตลาด (Marketing) ว่าการตลาด คือ ธุรกิจที่จะจำหน่ายสินค้าและบริการให้กับตลาดหรือให้กับผู้บริโภค ปัจจุบันความหมายของการตลาด ได้พัฒนาจนมีความหมายที่กว้างขึ้นและมีขอบข่ายที่ซับซ้อนขึ้นกว่าความหมายของการตลาดในอดีต ดังที่ ฟิลิป คอตเลอร์ (Philip Kotler) ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการตลาดได้ให้คำจำกัดความของการตลาดไว้ว่า การตลาด คือ กระบวนการทางสังคม การตลาดเป็นรูปแบบของการบริหารจัดการทั้งในส่วนของบุคคลและโดยองค์รวม การตลาดมีจุดประสงค์เพื่อตอบสนองความต้องการและตอบสนองความจำเป็นของผู้บริโภคในตลาด ซึ่งผู้บริโภค คือบุคคลหรือเป็นองค์กรทางธุรกิจ ดังนั้นการตลาดจึงเป็นกระบวนการที่สร้างสรรค์ และการตลาดเป็นกระบวนการที่ก่อให้เกิดการพัฒนา เกิดการแลกเปลี่ยน เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าและบริการ
       การตลาดเป็นหน้าที่หลักที่สำคัญขององค์กรทางธุรกิจ ซึ่งเป็นองค์กรที่แสวงหากำไร ดังนั้นหน้าที่ทางการตลาดจึงเป็นหน้าที่ที่มีรูปแบบการดำเนินการและมีแนวคิดทางด้านธุรกิจที่แตกต่างอย่างชัดเจนจากส่วนงานอื่นๆ ในองค์กรธุรกิจ
      ดังนั้น การตลาดในปัจจุบันมีลักษณะเป็น “ห่วงโซ่แห่งคุณค่า (The Value Chain)” ห่วงโซ่แห่งคุณค่า คือ ห่วงโซ่แห่งความร่วมมือในการสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างความพึงพอใจที่ธุรกิจพึงจะมอบให้แก่ลูกค้า ดังนั้น ในห่วงโซ่แห่งคุณค่าจะไม่มีขอบเขตของการสร้างคุณค่า การสร้างคุณค่าถือเป็นหน้าที่ของทุกๆ คน และทุกๆ ฝ่ายที่อยู่ในห่วงโซ่แห่งคุณค่าที่จะต้องร่วมกันสร้างคุณค่าหรือมูลค่าเพิ่ม เพื่อจุดมุ่งหมายทางการตลาด
ความร่วมมือกันสร้างคุณค่าเพื่อจุดมุ่งหมายทางการตลาดจึงถูกเรียกว่า “ห่วงโซ่แห่งคุณค่าและการตลาดแบบไร้ขอบเขต”      (The Value Chain and Boundary Less Marketing)

ความหมายของการค้าระหว่างประเทศ

การค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การแลกเปลี่ยนสินค้า และการบริการระหว่างประเทศ ประเทศใดที่จะพยายามผลิตสินค้าและบริการทุกประเภทโดยไม่มีการนำเข้าหรือส่งออก ประเทศนั้นจะพัฒนาได้ช้า และมาตรฐานการครองชีพของประชาชนจะต่ำ ถ้าพิจารณาในแง่ของบุคคลจะช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น กล่าวคือ ถ้าบุคคลพยายามปลูกข้าว ปลูกผัก ปลูกผลไม้ เลี้ยงสัตว์ไว้บริโภคเอง ฟอกหนังสัตว์และเย็บรองเท้าไว้ใช้เอง ปลูกฝ้าย ทอผ้า เย็บเสื้อผ้าเอง มาตรฐานการครองชีพของประชาชนนั้นจะต่ำมาก เพราะแต่ละประเทศมีทรัพยากร ความชำนาญแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคลหรือประเทศ การดำเนินนโยบายช่วยตนเองอย่างสมบูรณ์จึงเป็นไปได้ยากในทาง
From : ของ E-Mail :sittipon-2538@hotmail.com

วันเสาร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2553

กลยุทธ์การขายตรง

กลยุทธการขายตรง

ยุคนี้ปฎิเสธไม่ได้ว่าสื่อโฆษณา เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อความอยู่รอดของธุรกิจ โดยเฉพาะสื่อ ตลาดแบบตรง หรือ Direct Marketing ถือเป็นกลยุทธ์หนึ่งในการเข้าหาลูกค้าได้มาก ใช้เงินลงทุนน้อย เจ้าของธุรกิจสามารถกำหนดขนาด การบริหารงาน , กลยุทธ์การขาย ได้ด้วยตนเอง เมื่อเทียบกับการใช้สื่อตลาดช่องทางอื่น ๆ อาทิ ช่องทางค้าปลีก , ภาพยนตร์โฆษณา นับวันจะเข้าถึงผู้บริโภคได้ยาก ประกอบคู่แข่งทางด้านผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าในหมวดผงซักฟอก , ยาสีฟัน ก็มีหลากหลายยี่ห้อออกมาวางจำหน่ายอยู่ตามช่องทางค้าปลีก ส่งผลให้ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้นไม่ได้เกิดความจงรักภักดี ต่อแบรนด์นั้น ๆ อย่างเจาะจง
ดังนั้นสิ่งที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการนำสินค้าเข้าถึงมือผู้บริโภคในยุคนี้จำเป็นต้องใช้ กลยุทธ์ ตลาดแบบตรง ( Direct Marketing ) ซึ่งกำลังเป็นกระแส ฮอตฮิตในต่างประเทศและเชื่อว่าแนวโน้มของกลยุทธ์นี้จะไหลเข้าสู่ประเทศไทยในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าจึงมีคำถามว่าวันนี้ผู้ประกอบการแต่ละบริษัทขายตรงมีความพร้อมที่จะเปิดใจ ยอมรับเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไร เพราะสิ่งเหล่านี้ถือเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่ผู้ประกอบการ และ ตัวแทนจำหน่าย สามารถนำไปปรับใช้เพื่อให้เข้าถึงใจผู้บริโภคได้เหมือนกัน
นิวมีเดียเครื่องมือใหม่ของ ตลาดแบบตรง

ด้วยความเปลี่ยนแปลงของ เทคโนโลยี และ ไอที จึงทำให้ความสามารถในการสื่อสารเข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้นกว่าอดีต เช่นเดียวกับ การใช้กลยุทธ์ตลาดแบบตรงซึ่งเป็นเครื่องมือในการเข้าหาผู้บริโภคแบบ One By One ดังนั้นผู้ประกอบการจำเป็นต้องเข้าใจผู้บริโภคที่ไม่ใช่มุ่งเน้นแค่เฉพาะต้องการจะขายสินค้าอย่างเดียวแต่เป็นการสร้างความสัมพันธ์ และ การเข้าหาลูกค้าใหม่ ๆ เพื่อจะได้ขายสินค้ามากขึ้น และ การทำให้ลูกค้าซื้อผลิตภัณฑ์ของบริษัทนั้น ๆ ไปนาน ๆ โดยไม่เปลี่ยนไปใช้ยี่ห้ออื่น เพราะปัจจุบันช่องทางในการทำตลาดแบบตรงมีเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็น Direct Mail , Online Internet , Moblie ซึ่งถือว่าเป็นสื่อแบบใหม่ ( New Media ) ที่กำลังมาแรงจนแทบจะกลืนกินสื่อจำพวก สิ่งพิมพ์ , โปรชัวร์ แคตตาล็อกสินค้า

ดังนั้นเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการต้องคิดหนักขึ้นว่าเมื่อมีการส่งข้อความที่ต้องการจะขายสินค้าให้กับผู้บริโภคผ่านสื่อแบบใหม่แล้วผู้รับจะไม่ลบ ( Delete ) ทิ้งไปเสียก่อน ผู้บริโภคเห็นแล้วตอบกลับมา จึงเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการต้องสรรหากลวิธีอะไรก็ได้ที่น่าสนใจในการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคซึ่งไม่ใช่เรื่องของการให้ส่วนลด สินค้า เพราะสิ่งเหล่านี้มีแต่ทำให้แบรนด์ของสินค้าเสียหาย ระยะยาวผู้บริโภคก็จะรอแต่ขอส่วนลด อย่างเดียว อย่างไรก็ดี สิ่งที่เหมาะสมอย่างยิ่งต่อการตอบสนองความต้องการ ของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันคือ การจัดกิจกรรมพิเศษบางอย่างที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าฉันเป็นคนสำคัญ หรือ การมอบของพรีเมี่ยมที่ลูกค้าหาซื้อที่ไหนไม่ได้ เรื่องนี้ต้องขึ้นอยู่กับ นักการตลาดว่าจะมีวิธีในการค้นหาแคมเปญ หรือ ของพรีเมี่ยม อย่างไร


ปัจจุบันสื่อไอทีรูปแบบดิจิตตอลมาแรงมาก ๆ และ แนวโน้มของสื่อประเภทนี้กำลังเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้นทุกวัน คนไทยใช้ Intetnet ถึง 13 ล้านคน จนวันนี้ทุกบริษัทนักการตลาด รวมถึงเอเจนซี่ เริ่มนำสื่อประเภทนี้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการทำตลาด และ ถ้าบริษัทใดไม่ปรับตัวตามยุคไอทีดิจิตตอล รับรอง จะกลายเป็นไดโนเสาร์ หรือ เต่าล้านปี แน่นอน แม้แต่ธุรกิจขายตรงก็หลีกหนีไม่พ้นที่จะต้องเจอกระแสไอทีดิจิตตอล เห็นได้ว่าบริษัทขายตรงหลายแห่งเริ่มมีการให้ลูกค้าสั่งซื้อสินค้าทางอินเตอร์เน็ต มีการจัดประชุมผ่านระบบ ON line , สามารถดาวน์โหลด MP3 เกี่ยวกับแผนการจ่ายผลตอบแทน , รายละเอียดของสินค้า ไปนั่งฟังบนรถประจำทางได้ สิ่งเหล่านี้กำลังเป็น ตัวบ่งบอกถึงความเปลี่ยนแปลงที่เริ่มมีให้เห็นมากขึ้น

ลูกค้าเป็นผู้กำหนดทิศทางสื่อ

ทั้งนี้ มีข้อมูลหนึ่งที่น่าสนใจจากตลาดต่างประเทศที่ได้ออกมาตีพิมพ์ว่า ในอีก 20 ปี ข้างหน้า โลกของ Media จะกลายเป็นสื่อดิจิตตอลไม่ต่ำกว่า 80 % ผู้บริโภคสามารถรับรู้ข้อมูลได้ทุกที่ไม่จำกัดอยู่เฉพาะแค่ในบ้าน เห็นได้ว่าปัจจุบันโทรศัพท์มือถือสามารถเปิดดูทีวี ,เล่นอินเตอร์เน็ต และ เกมส์ ได้ โดยเมื่อปี 2548 คนไทย จำนวนไม่ต่ำกว่า 5 ล้านคน ติดการเล่นเกมส์ ด้วยความที่คนไทยติดการเล่นเกมส์จึงเป็นเหตุให้เห็นผู้ประกอบการบางคนได้นำสินค้าเข้าไปโฆษณาในเกมส์การแข่งขันต่าง ๆ เช่น เกมส์แข่งขันฟุตบอล ก็จะบิลบอร์ดป้ายโฆษณารองเท้าไนกี้ , อาดิดาส เข้าไปโฆษณาอยู่ในเกมส์นั้น เห็นได้ว่าหันไปทางไหนก็จะมีแต่โฆษณา และ โฆษณาเต็มไปหมด จึงเป็นเรื่องที่ ผู้ประกอบการที่คว่ำหวอดอยู่วง การตลาดแบบตรง และ ตลาดขายตรง ต้องปรับตัวและวิ่งตามให้ทันต่อกระแสของโลกที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการรับรู้ข้อมูลของผู้บริโภค ผ่านสื่อแบบใหม่ ( New Media ) ที่นับวันจะมีอิทธิพลต่อการเข้าถึงความต้องการ และ ไลฟ์สไตล์ ของผู้บริโภคมากขึ้น เพราะตลาดต่างประเทศปัจจุบันมีการติดตั้งระบบ Lock ที่ลูกค้าสามารถเลือกจะดูข้อมูลโฆษณาสินค้าอะไรก็ได้ที่ตนเองสนใจ และ Delete สินค้าที่ไม่ได้ตอบโจทย์ของต้องการของตนเองทิ้ง จึงเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการ และ นักการตลาด ต้องทำการบ้านหนักขึ้นว่า จะสรรค์สร้างข้อมูล และ โฆษณา อย่างไรที่สามารถเข้าไปครองใจผู้บริโภคได้โดยไม่ถูกปฏิเสธกระทั่งการเอาโฉมหน้าของตัวเองไปสร้างคาเร็กเตอร์ ตามจินตนาการที่อยากจะเป็นให้ออกมาในรูปแบบของตัวการ์ตูน เพื่อเข้าไป Chat กับเพื่อน ๆ ในอินเตอร์เน็ต

รวมทั้งการเข้าแสดงความคิดเห็น, แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันมากขึ้นในอินเตอร์เน็ต เช่น สินค้าของบริษัทขายตรงที่นี้ใช้แล้วดี ไม่ดีอย่างไร ลองหันไปใช้สินค้าแบบเดียวกันอีกบริษัทหนึ่งดู หรือ แม่ทีมบริษัทขายตรงรายนี้บริการไม่ดี ไปสมัครอยู่ภายใต้ดาวน์ไลน์ของแม่ทีมอีกคนหนึ่งดีกว่าสิ่งทั้งปวงเหล่านี้เป็นกำลัง ตัวบ่งบอกถึงไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคในยุคต่อจากนี้ไป ขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัทว่ามีวิธีในการจัดการอย่างไร ที่จะสามารถเข้ารองรับความต้องการของผู้บริโภคได้ เพราะหลักของการ ทำธุรกิจ ตลาดแบบตรง หรือ ธุรกิจขายตรง คงไม่ใช่มุ่งเน้นเรื่องการขายสินค้า หรือ การหาตัวแทนจำหน่ายเข้ามาอยู่ในระบบเครือข่าย แต่เป็นการสร้างความสัมพันธ์ ให้กลุ่มคนเหล่านี้อยู่กับบริษัทได้นาน ๆ และ ทำอย่างไรที่จะให้คนรุ่นใหม่ได้เข้ามาสู่ธุรกิจเครือข่าย

อนาคตตลาดแบบตรงในเมืองไทย

ธุรกิจ ตลาดแบบตรง ถือเป็นส่วนหนึ่งของการ CRM ( การสร้าง ความสัมพันธ์กับลูกค้า ) ที่ไม่ใช่แค่การมุ่งเน้นเรื่องการขายผลิตภัณฑ์ อย่างเดียว แต่ลูกค้าต้องการสร้างความสัมพันธ์กับแบรนด์ เช่น เมื่อเสียเงินซื้อสินค้าไปบริโภคแล้วคุ้มกับเงินที่จ่ายออกจากกระเป๋าหรือเปล่า , พนักงานขาย หรือ Call Centre สามารถตอบโจทย์ หรือ คำถาม ที่ลูกค้าโทรเข้ามาสอบถามเกี่ยวกับตัวผลิตภัณฑ์ได้หรือเปล่า เพราะลูกค้ายุคนี้ต้องการความเติมเต็มเกี่ยวกับข้อมูลที่ต้องการจะซื้อเกี่ยวกับตัวสินค้านั้น ๆ จึงเป็นเรื่องที่ ผู้ประกอบการต้องกลับไปนั่งคิดโดยเฉพาะเรื่องของการทำข้อมูล Data Base ของลูกค้าแต่ละคนว่าชอบ-ไม่ชอบอะไร อุปนิสัยในการบริโภคสินค้าเป็นอย่างไร สิ่งเหล่านี้ตัวแทนจำหน่าย ในธุรกิจขายตรงสามารถปรับแนวคิดดังกล่าวไปใช้เพื่อต่อยอดองค์กรให้กับตนเอง รวมไปถึงการสร้างความสัมพันธ์กับสมาชิกใหม่ และ เก่า ที่อยู่ภายใต้เครือข่ายได้

อย่างไรก็ดี เห็นได้ว่ายุคนี้มีภาพยนตร์โฆษณาออกมาเยอะมาก รวมทั้งสื่อโฆษณาตามบิลบอร์ด , โปรชัวร์ ซึ่งเป็นเหมือนกับการหว่านแบบกว้าง ๆ ลงไป ในตลาดให้ผู้บริโภครับรู้ข้อมูล แต่การทำตลาดแบบตรง จำต้องมีการทำรูปแบบโฆษณาที่ตรงใจลูกค้าเพื่อให้เกิดการโต้ตอบกลับมาให้ได้ เหมือนอย่างที่ นายกสมาคมนักการตลาด แบบตรงไทย หรือ TDMA และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัททีวี ไดเร็ค จำกัด กล่าวว่า " When the Economics downturn Direct Marketing you work the best " หรือ แปลเป็นไทยว่า " ในยุคเศรษฐกิจแบบนี้ใช่ว่าคนจะมีเงินน้อยลง แต่ด้วยค่าอุปโภค บริโภคที่สูงขึ้น ทำให้ผู้บริโภคเลี่ยงที่จะออกไปจับจ่าย ใช้สอย "

ดังนั้นการตลาดแบบตรงจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากในปัจจุบัน และ อนาคต เพราะคงหมดยุคที่จะรอให้ลูกค้ามาหาเรา ผู้ดำเนินธุรกิจที่สามารถ เข้าถึงผู้บริโภคได้มากก็ถือเป็นรายที่ได้เปรียบกว่า ทั้งนี้ ตลาดแบบตรงถือเป็นกลยุทธ์สิ่งที่สำคัญยิ่งในอนาคต เป็นเหมือนการสร้างช่องทางตลาดให้กับตัวเองแทนการยืม จมูกคนอื่นหายใจ

จตุภูมิแห่งการขายตรง
เป็นเทคนิคของการดำเนินงานที่ต้องมีมุมมองในหลายๆ ทิศทางแล้วนำมาบูรณาการเข้าด้วยกันเพื่อพัฒนาเป็นกลยุทธ์เฉพาะตามความเหมาะสมแต่ละองค์กร ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันธุรกิจต้องดำเนินการแบบ 360 องศา ต้องให้ ความสำคัญในทุกแง่มุมอย่างหลากหลายแบบครบวงจรด้วยความลึกซึ้งและเหมาะสม สำหรับธุรกิจขายตรงหรือนักขายตรงมืออาชีพก็จะต้องดำเนิน กิจกรรมการขายตรงอย่างครบถ้วน บรูณาการประสมประสานเทคนิคและกลยุทธ์ต่างๆ อย่างลงตัว

ซึ่งในแง่มุมของการดำเนินกิจกรรมการขายตรงก็เปรียบเสมือนกับมุมมองของ รูปสี่เหลี่ยม ซึ่งเป็นมุมมองจากภายนอกที่ประกอบด้วยด้านต่างๆ หรือปัจจัย 4 ด้านที่จะต้องให้ความสำคัญ
ถ้าหากว่าให้ความสำคัญกับทั้ง 4 ด้านเท่าๆ กันก็จะเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือ ถ้าให้ความสำคัญกับปัจจัยเท่ากันแค่ 2 ด้านก็จะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือถ้าให้ความสำคัญกับแต่ละปัจจัยหรือแต่ละด้านไม่เท่ากันก็จะเป็นสี่เหลี่ยมคางหมู หรือสี่เหลี่ยมอื่นๆ แล้วแต่จะเรียก ซึ่งแต่ละบริษัทก็จะต้องคำนึงจากปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก ว่าจะดำเนินกลยุทธ์แบบสี่เหลี่ยมประเภทไหน
โดยปัจจัยภายในได้แก่ ผลิตภัณฑ์ การกำหนดราคา แผนการตลาด นโยบายด้านต่างๆ การบริหารทรัพยากรมนุษย์การส่งเสริมการตลาด หรือปัจจัยอื่นๆ ที่เกิดขึ้นภายในองค์กร และสามารถควบคุมได้
สำหรับปัจจัยภายนอกที่มีส่วนเกี่ยว ข้องกับการดำเนินงานซึ่งองค์กรไม่สามารถ ควบคุมได้ โดยมีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม ได้แก่ สภาพทางเศรษฐกิจ อัตราค่าเงินบาท การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันและพลังงานต่างๆ ความมั่นคงทางการเมืองและกฎหมาย กระแสทางวัฒนธรรม ภาวะโลกร้อน หรือปัจจัยอื่นๆ ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากความคาดหมายขององค์กรไม่ว่าจะเป็นสี่เหลี่ยมประเภทไหนก็จะต้อง ประกอบด้วยสี่ด้านเสมอ ซึ่งกลยุทธ์สี่เหลี่ยมสำหรับการขายตรงอาจจะเรียกว่า กลยุทธ์

“จตุภูมิแห่งการขายตรง”

เป็นการนำเสนอกลยุทธ์สำหรับการขายตรง 4 ด้านหรือ 4 ภูมิ เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันให้สามารถดำเนินกิจกรรมขายตรงไปสู่เป้าหมายแห่งความสำเร็จได้ง่ายขึ้น ซึ่งประกอบด้วย

ภูมิที่ 1 สะกิด

การสะกิด เป็นการทดสอบตลาดหรือการหยั่งเชิงลูกค้าเพื่อใช้ศึกษาถึงความต้องการ หรือผลการตอบรับของลูกค้า หรือทัศนคติของลูกค้า หรือศึกษาถึงพฤติกรรม หรือการแบ่งกลุ่มลูกค้า จนนำไปสู่ความสะดวกในการเข้าถึงสามารถสร้างความประทับใจ ทำให้ลูกค้า เกิดความพึงพอใจ

นอกจากนี้ การสะกิด ยังหมายถึง การนำเสนอหรือการสื่อสารกับลูกค้าเพื่อจุดประกายให้ลูกค้าเกิดความสนใจ (Interest) รับรู้ถึงคุณภาพ และคุณค่าด้านต่างๆ ที่ธุรกิจขายตรงมอบให้ ซึ่งในการนำเสนอที่ดีจะต้องสะกิดใจลูกค้า ให้เกิดการเรียนรู้ (Learning) เพื่อนำไปสู่ทัศนคติที่เป็นบวก และเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างประสบการณ์ที่ดีจนลูกค้าเกิดความปรารถนาในตัวสินค้าและบริการ ทำให้ง่ายในการตัดสินใจซื้อหรือสมัครเป็นสมาชิกของธุรกิจขายตรง
เพราะการนำเสนอการขายตรงให้กับลูกค้าครั้งแรกอาจจะไม่สามารถปิดการขายได้ทันที ซึ่งการสะกิดยังช่วยในการสังเกตถึงการแสดงออก หรือมุมมองที่มีต่อการขายตรงของลูกค้า และที่สำคัญในการนำเสนอการขายตรงจะต้องไม่ใช่เป็นการหวังผลยอดขายอย่างเดียวหรือยัดเยียดความต้องการให้กับลูกค้า
เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นจะได้ผลในระยะสั้นเท่านั้น ถ้าต้องการให้การขายตรงฝังแน่นในใจของลูกค้าอย่างยาวนานก็จะต้องค่อยๆ สะกิดลูกค้าและแทรกซึมสร้างความประทับใจให้ลูกค้ารับรู้อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ

ภูมิที่ 2 เขี่ย

การเขี่ย เป็นการศึกษาถึงพฤติกรรมของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายอย่างลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น หรืออาจจะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มลูกค้า เพื่อทำการศึกษาภาคสนามหรือสำรวจตลาดโดยการเข้าไปคลุกคลีกับกลุ่มเป้าหมาย หรือจัดกิจกรรมสัมพันธ์ต่างๆ ร่วมกัน ซึ่งถ้าหากไม่มีการแบ่งลูกค้าเป้าหมายเป็นกลุ่มๆ ก็จะทำได้ยาก
เพราะเมื่อมีการแบ่งเป็นกลุ่มหรือเป็นระดับ แล้วจึงศึกษาลูกค้าแต่ละกลุ่มแต่ละระดับ ด้วยเครื่องมือหรือเทคนิคที่แตกต่างกันให้เหมาะสมกับแต่ละกลุ่ม ก็จะทำให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเหล่านั้นได้ง่ายขึ้น
นอกจากนี้ จะต้องกำหนดระดับความสำคัญของแต่ละกลุ่ม เพื่อทำให้ไม่เสียโอกาสในการศึกษาหรือการเข้าถึง การเขี่ยเป็นการนำเสนอกลยุทธ์การขายตรงในลักษณะที่เป็นกลุ่มและเป็นการนำเสนอในลักษณะเชิงลึกเพื่อหวังผลทางธุรกิจมากขึ้น หรืออาจจะเป็นการปิดการขายจากการที่ได้ เปิดการขายไว้แล้วหรือเป็นการนำเสนอขายในขั้นที่สอง เพื่อหวังผลจากยอดขายนั้นแสดงให้เห็นว่าในการเขี่ย นักขายตรงจะต้องคัดเลือกกลุ่มลูกค้าที่มีศักยภาพเพียงพอเพื่อทำการศึกษา (เขี่ย) ซึ่งอาจจะเป็นผลต่อเนื่องมาจากภูมิที่ 1 เมื่อสะกิดใจลูกค้าได้แล้วก็จะต้องเขี่ยหรือตอกย้ำความประทับใจให้สามารถเข้าถึงใจและนั่งอยู่ในใจของลูกค้าให้ได้

ภูมิที่ 3 เจาะ

การดำเนินกิจกรรมขายตรงปัจจัยในการ กำหนดความสำเร็จก็คือยอดขายและการสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็ง สำหรับภูมิที่ 3 คือ เจาะ ซึ่งในที่นี้ก็หมายถึงเจาะใจลูกค้าเพื่อพัฒนาลูกค้าเป็นทีมงานที่มีคุณภาพ สร้างเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพ
สาเหตุที่ต้องเจาะใจลูกค้าเฉพาะบุคคลก็เพื่อเป็นการคัดเลือกเฉพาะลูกค้าที่มีศักยภาพ สามารถพัฒนาเป็นทีมงานหรือเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพ เพราะลูกค้าทุกรายไม่ใช่เป็นทีมงานหรือเครือข่ายที่มีคุณภาพได้ทุกคน และการสร้างทีมงานที่มีคุณภาพนั้นก็จะต้องใช้เทคนิคและวิธีการที่แตกต่างกัน ดังนั้น นักขายตรงมืออาชีพจะต้องมีความเป็นผู้นำและต้องพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนจะต้องมีความสามารถในการจูงใจหรือมีวิธีการเข้าถึงหรือการเจาะใจทีมงานได้อย่างมีประสิทธิผล เพื่อสามารถที่จะนำองค์กรแห่งเครือข่ายขายตรงไปสู่ความสำเร็จได้อย่างไม่ยาก หรือการเจาะก็เป็นการคัดเลือกลูกค้าหรือผู้บริโภคเป็นนักขายตรงมืออาชีพเพื่อพัฒนาให้เป็นผู้นำหรือก้าวไปข้างหน้าสู่ความสำเร็จอีกระดับหนึ่ง ซึ่งเป็นการ พัฒนาด้วยเทคนิคและกระบวนการที่เหมาะสมสำหรับเฉพาะแต่ละบุคคล

ภูมิที่ 4 โอบล้อม

ภูมิสุดท้าย โอบล้อม เป็นการประเมินและพัฒนาตนเองในทุกแง่ทุกมุม โดยการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของการขายตรงอย่างครบเครื่องหรือบูรณาการกลยุทธ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน สำหรับกลยุทธ์ภูมินี้ นักขายตรงจะต้องใส่ใจและให้ความสำคัญกับทุกๆ รายละเอียดที่จะนำเสนอหรือสื่อสารให้ลูกค้าและทีมงานได้รับรู้ ซึ่งการดำเนินกิจกรรมจะต้องสามารถสอดรับและตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าหรือผู้บริโภค และทีมงานในเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการโอบล้อมในภูมินี้ หมายถึง การนำกลยุทธ์ขายตรงในทุกๆ ด้านมาเชื่อมโยงผสมผสานเข้าด้วยกันอย่างครบวงจร ไม่ว่าเป็นการสื่อสารทางการตลาดที่มุ่งสู่ผู้บริโภคและทีมงาน การส่งเสริมการขาย เพื่อการกระตุ้นและจูงใจ การฝึก อบรม สัมมนา ประชาสัมพันธ์ ตลอดจนการจัดกิจกรรมการส่งเสริมการตลาดต่างๆ ทั้งเป็นการสนับสนุนให้ลูกค้าซื้อสินค้าเพิ่มมากขึ้นหรือพัฒนา ส่งเสริมให้ทีมงานหาเครือข่ายที่มีคุณภาพได้ง่ายยิ่งขึ้น นอกจากนี้นักขายตรงจะต้องกำหนด สัดส่วนและลำดับความสำคัญของแต่ละกิจกรรมให้มีความสอดคล้องกับลูกค้าหรือทีมงานแต่ละกลุ่ม ภายใต้สถานการณ์ ต่างๆ ในช่วงเวลาที่เหมาะสม สามารถสร้างความพึงพอใจได้ในทุกๆ ส่วนที่เกี่ยวข้อง และกลยุทธ์ต่างๆ จะต้องดำเนิน การอย่างหลากหลายไปในทิศทางเดียวกัน อย่างต่อเนื่องในช่วงจังหวะเวลาที่สอดรับกัน

จตุภูมิแห่งการขายตรง ก็เป็นอีกกลยุทธ์ที่สามารถสร้างรากฐานให้แก่ธุรกิจขายตรงมีความมั่นคงยั่งยืน และเป็นเทคนิคของการดำเนินงานที่ต้องมีมุมมองในหลายๆ ทิศทาง แล้วนำมาบูรณาการเข้าด้วยกันเพื่อพัฒนาเป็นกลยุทธ์เฉพาะตามความเหมาะสมแต่ละองค์กร ซึ่งมีแง่มุมหลากหลายที่จะต้องให้ความสำคัญ แบบครบวงจรทั้ง 4 ด้าน โดยการให้น้ำหนักแต่ละด้านสำหรับแต่ละองค์กรอาจจะไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับความเหมาะสมขององค์กรภายใต้สถานการณ์ที่แตกต่างกัน
ข้อดี ของธุรกิจขายตรงคือ ที่ตั้งสำนักงานไม่จำเป็นต้องอยู่ในย่านการค้า จึงเป็นการช่วยลดต้นทุน