วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การส่งออกดอกไม้และดอกไม้ประดิษฐ์ของไทย



ดอกไม้และดอกไม้ประดิษฐ์

ดอกไม้และดอกไม้ ประดิษฐ์ เป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญชนิดหนึ่งของไทย มีมูลค่าการส่งออกปีละประมาณ 3,000-4,000 ล้านบาท สามารถนำรายได้จากต่างประเทศเข้ามาเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามในปี 2532 สหรัฐอเมริกาได้ตัด GSP สำหรับ ดอกไม้ผ้าประดิษฐ์ด้วยมือจากประเทศไทย การตัด GSP ดัง กล่าวเป็นเหตุให้เกิดผลกระทบอย่างมากต่อการส่งออกดอกไม้ประดิษฐ์ของไทย เนื่องจาก ภาษีนำเข้าจากไทยสูงขึ้นราคาสินค้ากลุ่มนี้ได้สูงขึ้นในด้านผู้ซื้อ ยิ่งไปกว่านั้นค่าจ้างแรงงานของไทยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่งขันคือ จีนยังทำให้ดอกไม้และดอกไม้ประดิษฐ์ของไทยเสียเปรียบเชิงเปรียบเทียบ จีนได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในการส่งออกดอกไม้และดอกไม้ประดิษฐ์ในตลาดต่าง ประเทศรายสำคัญ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา และเยอมันตะวันตก เนื่องจากมีราคาขายต่ำและค่าจ้างแรงงานต่ำ ดังนั้น ธุรกิจดอกไม้ประดิษฐ์ของไทยในช่วงปี 2533 จึงประสบ ปัญหา แม้ว่าในปี 2540 สหรัฐอเมริกาได้คืน GSP มาให้ไทยแล้วก็ตาม ภาครัฐและผู้ประกอบการได้มีการปรับตัวโดยพยายามหาตลาดใหม่ๆ ทดแทนตลาดสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันมีการขยายตลาดไปยังประเทศอังกฤษ ญี่ปุ่น สิงค์โปร์ สเปน เยอรมนี อิตาลี ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ โปรตุเกส แม็กซิโก ไต้หวัน อินเดีย เนเธอร์แลนด์ ฮ่องกง สหรัฐอาหรับอิมิเรต เกาหลี แคนาดา เป็นต้น นอกจากนั้น ยังได้มีการคิดค้นวัสดุใหม่ๆ เพื่อนำมาทำดอกไม้ประดิษฐ์เพื่อสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งขันและมีการ คิดค้นสูตรการผลิตที่ลอกเลียนแบบได้ยากยิ่งขึ้น


ตลาดส่งออก

•    ในช่วงปี 2527-2532 เป็นปี ทองของการส่งออกดอกไม้ประดิษฐ์ของไทยเนื่องจากประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่ ได้แก่ สิงคโปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน และเกาหลีใต้ ต่างถูกถอนสิทธิพิเศษทางการค้าและภาษีศุลกากร(Generalize System of Preference : GSP) จากสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นผู้นำเข้าสินค้า รายใหญ่ของโลก ขณะที่ไทยยังได้รับสิทธิพิเศษดังกล่าวโดยได้รับการยกเว้นการเก็บภาษีนำเข้า ส่งผลให้ประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่ย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทยเพื่อต้องการ ใช้สิทธิ GSP ของไทยในการส่งออกดอกไม้ประดิษฐ์ไปยัง ตลาดสหรัฐอเมริกา ไทยสามารถส่งออกดอกไม้ประดิษฐ์ได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 31.0 ต่อปีระหว่างปี 2527-2532

•    ตลาดสหรัฐอเมริกาเป็นตลาดขนาดใหญ่ มีความต้องการใช้ดอกไม้ประดิษฐ์เพิ่มมากขึ้นทุกปี ปัจจุบันเป็นตลาดที่นิยมสินค้าราคาถูกในตลาดระดับล่างมากกว่าสินค้าระดับปาน กลางขึ้นไปเช่นที่ไทยผลิตส่วนใหญ่ในปัจจุบัน กลุ่มลูกค้าของไทยจึงมีลักษณะเฉพาะเป็นกลุ่มลูกค้าประเภทนักออกแบบตกแต่ง ภายในที่ชื่นชอบและเชื่อมั่นสินค้าไทยเพราะรูปแบบของสินค้าที่เหมือนจริง อย่างไรก็ตาม ขนาดตลาดของกลุ่มลูกค้าดังกล่าวค่อนข้างเล็กเมื่อเทียบกับตลาดสินค้าดอกไม้ ประดิษฐ์ทั่วไปในสหรัฐอเมริกา


การแข่งขันใน ตลาดต่างประเทศ

•    สถานการณ์การแข่งขัน ผู้ประกอบการไทยยังคงต้องเผชิญกับภาวะการแข่งขันจากคู่แข่ง 2 กลุ่ม (Competitive Nutcracker) ได้แก่ กลุ่มที่ผลิตดอกไม้ ใบไม้ และต้นไม้ประดิษฐ์คุณภาพสูง ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา เยอรมนี และเบลเยี่ยม โดยมีจุดเด่นในด้านการออกแบบชิ้นงาน และ การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาเสริมศักยภาพ และกลุ่มที่ ผลิตสินค้าคุณภาพปานกลางถึงต่ำ ซึ่งมีราคาจำหน่ายเฉลี่ยต่อหน่วยต่ำกว่าไทย ได้แก่ จีน  ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย  โดยอาศัยปัจจัยสนับสนุนจากอุปทานของแรงงานที่มีเป็นจำนวนมากและ มีการพัฒนาแรงงานฝีมืออย่างต่อเนื่องในการผลิตสินค้าหัตถกรรม  นอกจากนี้จีนยังมีความพร้อมของเทคโนโลยีการผลิตที่ได้รับการ ถ่ายทอดจากนักลงทุนชาวไต้หวันและฮ่องกงที่เป็นผู้ชำนาญด้านการผลิตสินค้า กลุ่มนี้และได้ขยายฐานการผลิตเข้าไปในจีน

•    เนอร์เธอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกาและเยอรมนี  ในแต่ละปีกลุ่มประเทศที่ผลิตสินค้าคุณภาพสูง เช่น เนเธอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกาและเยอรมนี มีสัดส่วนของส่วนแบ่งตลาดรวมกันเพียงร้อยละ 6-7 เท่านั้น มีอัตราการเติบโตค่อนข้างทรงตัว มีตลาดหลักเป็นตลาดเดิมคือประเทศแถบยุโรป 


แนวโน้มตลาด

•    ตลาดส่งออกดอกไม้สดมีแนวโน้มที่ ยังคงเติบโตได้ ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญกับคุณภาพและบรรจุภัณฑ์เพื่อถนอมความสดใหม่ของ สินค้า


•    ตลาดดอกไม้ประดิษฐ์ระดับกลางขึ้น ไป ผู้ประกอบการไทยควรมุ่งเน้นการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ใกล้เคียงธรรมชาติต่อ ไป โดยอาศัยความได้เปรียบด้านฝีมือแรงงานซึ่งได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ พร้อมทั้งขยายตลาดไปสู่กลุ่มประเทศที่ให้ความสำคัญกับความประณีตและคุณภาพ ของสินค้ามากกว่าราคา เช่น กลุ่มประเทศในยุโรป ได้แก่ สหราชอาณาจักร เยอรมนี สเปน และไอร์แลนด์ เป็นต้น

•    หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และเอกชนควรต้องร่วมมือกันอย่างจริงจังในการเสริมสร้างศักยภาพการผลิตดอกไม้ ใบไม้ และต้นไม้ประดิษฐ์ของไทย ทั้งในด้านการผลิตและการตลาด ทั้งนี้เพื่อสร้างโอกาสในการขยายส่วนแบ่งตลาดดอกไม้ ใบไม้ และต้นไม้ประดิษฐ์ของไทยในตลาดโลกอย่างยั่งยืน อันจะนำมาซึ่งยุคทองของสินค้ากลุ่มนี้อีกครั้งเช่นในอดีต

ปัญหาและแนวทางการแก้ไข

1.    ด้านแรงงาน ดอกไม้ผ้าที่ทำด้วยมือนั้นเป็นงานประดิษฐ์ที่ต้องใช้ฝีมือของแรงงาน ผู้ผลิตและหน่วยงานรัฐควรจะร่วมมือกัน
2.    เอกลักษณ์และความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ ลูกค้าในตลาดใหม่ๆ เช่น ยุโรปตะวันออก ตะวันออกกลาง ละตินอเมริกา และรัสเซีย เป็นตลาดที่มีศักยภาพ แต่จีนได้พยายามเปิดตลาดดังกล่าวเช่นเดียวกับไทย ดังนั้น การปรับตัวของผู้ประกอบการไทยเพื่อรองรับการแข่งขันในอุตสาหกรรมดอกไม้ ประดิษฐ์ ควรให้ความสำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านคุณสมบัติและส่วนผสมของวัตถุดิบรวม ถึงเทคโนโลยีการผลิต โดยเน้นการนำวัสดุท้องถิ่นในประเทศมาพัฒนาปรับปรุงให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้เกิดเอกลักษณ์และความแตกต่างจากคู่แข่ง เช่น สูตรของวัตถุดิบเพื่อสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ได้แก่ สูตรสำหรับดอกไม้กลางแจ้งที่ทนต่อแสงแดด ดอกไม้ในร่มที่ไม่ก่อให้เกิดการสะสมของฝุ่น เป็นต้น หรือสูตรของวัตถุดิบที่มีกลิ่นหอมเหมือนดอกไม้ธรรมชาติที่อาจพัฒนามาจาก ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติหรือสมุนไพรไทย แต่ควรต้องผ่านการศึกษาวิจัยอย่างละเอียด หรือการคิดค้นเทคโนโลยีการผลิตส่วนประกอบต่างๆ ของดอกไม้ประดิษฐ์ให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้นและยากต่อการลอกเลียนแบบเพื่อ ป้องกันการเข้าสู่ตลาดของผู้ประกอบการรายใหม่

3.    กลยุทธ์การเพิ่มมูลค่าสินค้า โดยการออกแบบชิ้นงานให้มีความโดดเด่น และการนำเสนอสินค้าให้มีความหลากหลายมากขึ้นภายใต้การบริหารจัดการต้นทุนที่ มีประสิทธิภาพ เพื่อพยุงผลกำไร พร้อมทั้งขยายตลาดกลุ่มเป้าหมายให้มากขึ้น ทั้งกลุ่มหนุ่มสาววัยทำงาน กลุ่มโรงแรมหรูหราราคาระดับสูง และกลุ่ม
รี สอร์ต รวมถึงปรับปรุงการจัดส่งและระบบการจัดจำหน่าย เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้ทั่วถึงและรวดเร็วยิ่งขึ้น

4.    ติดตามและศึกษารสนิยมผู้บริโภคในตลาดเป้าหมาย เนื่องจากรสนิยมของผู้บริโภคในแต่ละประเทศมีความแตกต่างกันและมีการ เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ผู้ประกอบการไทยจึงต้องศึกษาและติดตามโดยตลอดเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้ตาม ความต้องการ

5.    การสนับสนุนแหล่งทุน หน่วยงานของภาครัฐควรก้าวเข้ามามีบทบาทเพิ่มมากขึ้นในการปรับปรุงพัฒนา อุตสาหกรรมนี้ โดยเฉพาะในส่วนของเงินทุนในการทำการศึกษาวิจัยและพัฒนาเครื่องจักร รวมถึงเทคโนโลยีที่ทันสมัย เนื่องจากผู้ผลิตส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ที่มี เงินทุนไม่มากนัก เพื่อยกระดับให้สินค้าดอกไม้ประดิษฐ์ของไทยสามารถก้าวไปสู่ตลาดระดับกลางถึง บนได้อย่างยั่งยืนในอนาคต

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

•        ความ คิดริเริ่มในการนำวัสดุใหม่ๆ มาใช้ในงานประดิษฐ์ดอกไม้ ให้มีความสวยงามใกล้เคียงธรรมชาติ

•        ความ พยายามในการลดต้นทุน ควบคุมวัตถุดิบสูญเสียและเพิ่มระบบการบริหารจัดการในกลุ่มผู้ประกอบการ ดอกไม้ประดิษฐ์ระดับครัวเรือนหรือหมู่บ้าน

•        การ สร้างโอกาสในการขยายตลาดส่งออกไปยังประเทศอื่นๆ ที่มีความต้องการใช้ดอกไม้และดอกไม้ประดิษฐ์ เนื่องจากการเติบโตของเมือง ตลอดจนศึกษาความต้องการของตลาดเฉพาะกลุ่ม (Niche Market) เพื่อพัฒนาและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ได้ตามความต้องการ

•        ธุรกิจร้านดอกไม้ ภายในประเทศ ผู้ประกอบการได้พยายามปรับตัวโดยการสร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์และเพิ่มช่อง ทางการจำหน่าย ได้แก่ การมุ่งเน้นการออกแบบและนำเทคนิคการจัดดอกไม้ใหม่ๆ มาใช้ เพิ่มบริการส่งสินค้าโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เพิ่มช่องทางกระจายสินค้าผ่านบริการทางอินเทอร์เน็ต ร่วมมือกับพันธมิตรในธุรกิจที่มีความใกล้เคียงกันโดยให้บริการที่ครบวงจรมาก ขึ้น ดังนั้น ความสำเร็จคือความพร้อมในการปรับตัวสำหรับ
พลวัตรทางธุรกิจ ที่สามารถเกิดขึ้นได้

1 ความคิดเห็น:

  1. ตกแต่งได้สวยน่ารักดี วิเตราะห์ swot เหมาะกับเนื้อหา

    ตอบลบ