ประวัติประเทศเกาหลี (한국 หรือ 조선)
เป็นประเทศในอดีตตั้งอยู่ในคาบสมุทรเกาหลี ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศเกาหลีถูกแบ่งออกเป็น ประเทศเกาหลีเหนือ และ ประเทศเกาหลีใต้
ประวัติศาสตร์
โดยย่อ
เริ่มจาก อาณาจักรโคโชซอน สถาปนาขึ้นโดย "ทันกุน" ต่อมาสมัยสามอาณาจักรแห่งเกาหลี ถูกรวมเข้าด้วยกันเป็นสหอาณาจักรชิลลา ซึ่งมีพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง และต่อมา ค.ศ. 918 ได้สถาปนา[[อาณาจักรโคเรียว] หรือ โค-รยอ ซึ่งเป็นชื่อของเกาหลี (KOREA) และเมื่อราชวงศ์โชซอน(ราชวงศ์ลี)ครองอำนาจเปลี่ยนชื่ออาณาจักรใหม่ ชื่อ อาณาจักรโชซอนเมืองหลวงชื่อว่า ฮันยาง (กรุงโซล) มีลัทธิขงจื้อ เป็นคติธรรมประจำชาติ และได้ประดิษฐ์อักษรเกาหลี ขึ้น ในปี พ.ศ. 2453 ต้องอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่นจนกระทั่งสิ้นสุด สงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ได้รับอิสรภาพอย่างถาวร
ประเทศเกาหลีแบ่งเป็น 2 ประเทศ คือ เกาหลีใต้และเกาหลีเหนือ โดย ประเทศเกาหลีใต้สถาปนาเป็น สาธารณรัฐเกาหลี ประเทศเกาหลีเหนือ สถาปนา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี
ภูมิศาสตร์
คาบสมุทรเกาหลีไปทางทิศใต้ทางด้านตะวันออกของทวีปเอเชีย ความยาว 1,020 กิโลเมตร (612 ไมล์) และกว้าง 175 กิโลเมตร (105 ไมล์) ณ จุดที่แคบที่สุดของคาบสมุทร พื้นที่ 70% ของประเทศเป็นเทือกเขา เป็นประเทศที่มีภูมิประเทศเป็นเทือกเขามากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เป็นหินแกรนิตและหินปูนทำให้เกิดภูมิประเทศที่สวยงาม ประกอบด้วยเทือกเขาและหุบเขา เป็นแหล่งเกษตรกรรม โดยเฉพาะในด้านการผลิตข้าว คาบสมุทรเกาหลีถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ที่บริเวณเหนือเส้นขนานที่ 38 คือ ประเทศระบอบประชาธิปไตย สาธารณรัฐเกาหลีอยู่ทางใต้ และประเทศระบอบคอมมิวนิสต์ เกาหลีเหนือ โดยถูกคั่นกลางโดยเขตปลอดทหาร ประเทศเกาหลีใต้มีพื้นที่ 99,500 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 47.9 ล้านคน (ค.ศ. 2003) ประกอบด้วย 9 จังหวัด (โด) กรุงโซลเป็นเมืองหลวงของประเทศ และประกอบด้วยเมืองใหญ่ ๆ 6 เมือง คือพูนซา น แทกู อินชน ควางจู แทจอน และ อุลซาน รวมมีเมืองทั้งหมด 77 เมือง (ซี) 88 มณฑล (กุน) ใน 9 จังหวัด
การเมือง วัฒนธรรม เศรษฐกิจ
การเมือง หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2491 คาบสมุทรเกาหลีถูกแบ่งเป็นสองส่วนโดยเส้นละติจูดที่ 38 องศาเหนือ (มักเรียกว่าเส้นขนาน 38) โดยสหภาพโซเวียตดูแลเกาหลีเหนือมีการปกครองระบอบสังคมนิยม ส่วนสหรัฐอเมริกาดูแลเกาหลีใต้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย
ศาสนา ชาวเกาหลีเหนือนับถือศาสนาพุทธ 23.33% ศาสนาคริสต์ 0.05% และ ไม่นับถือศาสนา
เศรษฐกิจ เปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจจากเกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรม
นำข้อมูลมาจาก www.thaigoodview.com/node/1447
ศิลปะ
ชนชาติเกาหลีได้ถ่ายทอดความเป็นอัจฉริยะทางศิลปะผ่านทางดนตรี นาฎศิลป์ และจิตรกรรม ซึ่งได้มีการพัฒนามาตลอดระยะเวลา 5,000 ปีของประวัติศาสตร์เกาหลี แม้ว่าศิลปะตะวันตกในรูปแบบต่าง ๆ จะแพร่หลายอยู่ในประเทศ แต่ศิลปะเกาหลีอันมีเอกลักษณ์ เฉพาะตัวยังได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะในลักษณะดั้งเดิม หรือผสมผสานกับศิลปะร่วมสมัย
ดนตรีประจำชาติ
ชนชาติเกาหลีมีดนตรีที่เรียกว่า คุกอัก มีที่มาคล้ายคลึงกับดนตรีจีนและญี่ปุ่น จะพบว่า ดนตรีเกาหลีมีลักษณะแตกต่างอย่างชัดเจนจากดนตรีชนิดอื่น ๆ ในแถบเอเชียตะวันออก กล่าวคือ ดนตรีเกาหลีประกอบด้วยสามจังหวะในหนึ่งห้อง ในขณะที่ดนตรีจีนและญี่ปุ่นมีสองจังหวะในหนึ่งห้อง คุกอัก แบ่งออกเป็นสองประเภท คือ ชองอัก หรือดนตรีในราชสำนัก และมินซกอัน หรือดนตรีพื้นบ้าน ชองอัก ซึ่งเป็นดนตรีชั้นสูง มีท่วงทำนองเชื่องช้า เยือกเย็น และซับซ้อน ส่วนมินซกอัก ได้แก่ ดนตรีของชาวนาชาวไร่ พันซอรี (ดนตรีที่เน้นการแสดงความรู้สึก) และดนตรีพิธีไสยศาสตร์ มีจังหวะที่รวดเร็วและกระฉับกระเฉง
นาฏศิลป์
ศิลปะการร่ายรำแบบเกาหลีแบ่งออกเป็น 2 ประเภทเช่นเดียวกับดนตรี คือ แบบราชสำนักและแบบพื้นบ้าน ในแบบฉบับของราชสำนักนั้น ท่าทางของการรำจะช้าและสง่างาม ซึ่งสะท้อนปรัชญาของการเดินสายกลางและการระงับอารมณ์ความรู้สึก เป็นอิทธิพลมาจากปรัชญาขงจื้อ ในทางตรงกันข้าม ระบำพื้นบ้านซึ่งสะท้อนชีวิตการทำงานและศาสนาของสามัญชนจะใช้จังหวะและทำนองที่สนุกสนาน เป็นลักษณะของการแสดงออกที่เป็นอิสระและมีชีวิตชีวาของคนเกาหลี เช่น ระบำของชาวนาชาวไร่ ระบำหน้ากาก และการร่ายรำทางไสยศาสตร์
การค้าระหว่างประเทศของเกาหลีใต้
ปี 2543 (ม.ค.-ก.ย.) ปี 2544 (ม.ค.-ก.ย.)
ล้านเหรียญสหรัฐฯ ล้านเหรียญสหรัฐฯ %เพิ่ม/ลดมูลค่าการค้า 246,095 220,927 -10.23 การส่งออก 127,054 114,236 -10.09 การนำเข้า 119,041 106,691 -10.37 ดุลการค้า 8,013 7,545 -5.84
2.2 การส่งออก : ลดลงร้อยละ 10.09
การส่งออกของเกาหลีใต้ในปี 2544 (ม.ค.-ก.ย.) มีมูลค่า 114,236 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากปี 2543 (ม.ค.-ก.ย.) เป็นมูลค่า 12,818 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือลดลงร้อยละ 10.09
สินค้าส้งออกสำคัญ ที่ส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ รถยนต์นั่ง เรือโดยสาร เรือสินค้า เครื่องส่งวิทยุ โทรทัศน์ ส่วนประกอบเครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคม ผ้าถักแบบนิตหรือโครเชต์ ส่วนประกอบรถยนต์ เรือขุด แท่นเจาะลอยน้ำ เครื่องปรับอากาศ และยางนอกชนิดอัดลม
ตลาดส่งออกสำคัญ ที่ส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ จีน อินโดนีเซีย เนเธอร์แลนด์ อิตาลี สหรัฐอาหรับฯ บราซิล ปานามา เวียดนาม กัมพูชา บรูไน และลาว
สินค้านำเข้าสำคัญ ที่นำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันสำเร็จรูป ถ่านหิน ส่วนประกอบเครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคม ส่วนประกอบรถยนต์ สินแร่เหล็ก ข้าวโพด และหม้อแปลงไฟฟ้า
การค้าระหว่างประเทศเกาหลีใต้กับไทย
ภาพรวม : การค้าลดลงร้อยละ 2.67
มูลค่าการค้า 2,621 2,551 -2.67
การส่งออก 1,480 1,392 -5.95
การนำเข้า 1,141 1,159 1.58
ดุลการค้า 339 233 -31.27
การส่งออก : เกาหลีใต้ส่งออกมาไทยลดลงร้อยละ 5.95
สินค้าสำคัญที่เกาหลีใต้ส่งออกมาไทยเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องส่งวิทยุ โทรทัศน์ ทองคำ เม็ดพลาสติกชนิด โพลิอะซีทัล เหล็กแผ่นรีดเย็น ผ้าถักแบบนิตหรือโครเชต์ ปลาสดแช่แข็ง และเครื่องซักผ้า สำหรับสินค้าสำคัญที่เกาหลีใต้ส่งออกมาไทยลดลง ได้แก่ หลอดเทอร์มิโอนิก แผงวงจรไฟฟ้า ส่วนประกอบเครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคม เหล็กแผ่นชุบผ้าไม่ทอทำด้วยใยยาวประดิษฐ์ เม็ดพลาสติกชนิด สไตรีน ไดโอด ทรานซิสเตอร์ และเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์
การนำเข้า : เกาหลีใต้นำเข้าจากไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.58
สินค้าสำคัญที่เกาหลีใต้นำเข้าจากไทยเพิ่มขึ้น ได้แก่ ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ ไก่สดแช่เย็น กุ้ง ปูสดแช่เย็น ด้ายเส้นใยสั้นเทียมที่ไม่ได้สาง มอเตอร์ไฟฟ้ากากน้ำตาล พัดลม เครื่องสูบลม เครื่องจักรไฟฟ้าที่ทำงานเป็นเอกเทศ และเนื้อปลาสดแช่เย็น แช่แข็ง สำหรับสินค้าสำคัญที่เกาหลีใต้นำเข้าจากไทยลดลง ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้าเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ น้ำมันจากถ่านหิน น้ำตาล หลอดเทอร์มิโอนิก ไดโอด ทรานซิสเตอร์ เครื่องตัดต่อสำหรับป้องกันวงจรไฟฟ้า และเม็ดพลาสติกชนิด โพลิอะซีทัล
ดุลการค้า : เกาหลีใต้เกินดุลการค้ากับไทยลดลงร้อยละ 31.27
การตลาดระหว่างประเทศ
การตลาด (Marketing) ว่าการตลาด คือ ธุรกิจที่จะจำหน่ายสินค้าและบริการให้กับตลาดหรือให้กับผู้บริโภค ปัจจุบันความหมายของการตลาด ได้พัฒนาจนมีความหมายที่กว้างขึ้นและมีขอบข่ายที่ซับซ้อนขึ้นกว่าความหมายของการตลาดในอดีต ดังที่ ฟิลิป คอตเลอร์ (Philip Kotler) ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการตลาดได้ให้คำจำกัดความของการตลาดไว้ว่า การตลาด คือ กระบวนการทางสังคม การตลาดเป็นรูปแบบของการบริหารจัดการทั้งในส่วนของบุคคลและโดยองค์รวม การตลาดมีจุดประสงค์เพื่อตอบสนองความต้องการและตอบสนองความจำเป็นของผู้บริโภคในตลาด ซึ่งผู้บริโภค คือบุคคลหรือเป็นองค์กรทางธุรกิจ ดังนั้นการตลาดจึงเป็นกระบวนการที่สร้างสรรค์ และการตลาดเป็นกระบวนการที่ก่อให้เกิดการพัฒนา เกิดการแลกเปลี่ยน เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าและบริการ
การตลาดเป็นหน้าที่หลักที่สำคัญขององค์กรทางธุรกิจ ซึ่งเป็นองค์กรที่แสวงหากำไร ดังนั้นหน้าที่ทางการตลาดจึงเป็นหน้าที่ที่มีรูปแบบการดำเนินการและมีแนวคิดทางด้านธุรกิจที่แตกต่างอย่างชัดเจนจากส่วนงานอื่นๆ ในองค์กรธุรกิจ
ดังนั้น การตลาดในปัจจุบันมีลักษณะเป็น “ห่วงโซ่แห่งคุณค่า (The Value Chain)” ห่วงโซ่แห่งคุณค่า คือ ห่วงโซ่แห่งความร่วมมือในการสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างความพึงพอใจที่ธุรกิจพึงจะมอบให้แก่ลูกค้า ดังนั้น ในห่วงโซ่แห่งคุณค่าจะไม่มีขอบเขตของการสร้างคุณค่า การสร้างคุณค่าถือเป็นหน้าที่ของทุกๆ คน และทุกๆ ฝ่ายที่อยู่ในห่วงโซ่แห่งคุณค่าที่จะต้องร่วมกันสร้างคุณค่าหรือมูลค่าเพิ่ม เพื่อจุดมุ่งหมายทางการตลาด
ความร่วมมือกันสร้างคุณค่าเพื่อจุดมุ่งหมายทางการตลาดจึงถูกเรียกว่า “ห่วงโซ่แห่งคุณค่าและการตลาดแบบไร้ขอบเขต” (The Value Chain and Boundary Less Marketing)
ความหมายของการค้าระหว่างประเทศ
การค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การแลกเปลี่ยนสินค้า และการบริการระหว่างประเทศ ประเทศใดที่จะพยายามผลิตสินค้าและบริการทุกประเภทโดยไม่มีการนำเข้าหรือส่งออก ประเทศนั้นจะพัฒนาได้ช้า และมาตรฐานการครองชีพของประชาชนจะต่ำ ถ้าพิจารณาในแง่ของบุคคลจะช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น กล่าวคือ ถ้าบุคคลพยายามปลูกข้าว ปลูกผัก ปลูกผลไม้ เลี้ยงสัตว์ไว้บริโภคเอง ฟอกหนังสัตว์และเย็บรองเท้าไว้ใช้เอง ปลูกฝ้าย ทอผ้า เย็บเสื้อผ้าเอง มาตรฐานการครองชีพของประชาชนนั้นจะต่ำมาก เพราะแต่ละประเทศมีทรัพยากร ความชำนาญแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคลหรือประเทศ การดำเนินนโยบายช่วยตนเองอย่างสมบูรณ์จึงเป็นไปได้ยากในทาง
From : ของ E-Mail :sittipon-2538@hotmail.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น